ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

571322

 

ชื่อวิทยาศาสตร์      Curcuma longa L.

วงศ์                  ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ             Turmeric

ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ 

              ต้น เป็นพืชล้มลุก  มีเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะรูปไข่ มีแขนงแตกออกด้านข้างทั้งสองด้าน เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองส้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ใบ เป็นใบเดี่ยวแทงขึ้นมาจากเหง้า เรียงเป็นวงซ้อนทับกัน ใบเป็นรูปหอก 

ดอก เป็นช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ เหง้าสดและแห้ง

สรรพคุณทางยาและวิธีใช้ 

 แก้โรคกระเพาะ แก้อาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะ

โดยนำเหง้าแก่ล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดประมาณ 1 – 2  วัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนหรือบรรจุเป็นแคปซูล                                                    ขนาด 250 มิลลิกรัม  เก็บไว้ในขวดสะอาดและปิดให้มิดชิด รับประทานครั้งละ 2 – 3  เม็ด วันละ 3 – 4  ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน

แก้อาการท้องร่วงท้องเดิน

ใช้เหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว นำมาปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียดเติมน้ำสะอาดลงไป แล้วคั้นเอาแต่น้ำรับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ 3 – 4  ครั้ง  หลังอาหารและก่อนนอน

แก้โรคผิวหนังเรื้อรัง

นำผงขมิ้นผสมน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่เป็นแผล หรือใช้เหง้าฝนน้ำข้น ๆ ทา  รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน แก้อาการแพ้และอักเสบจากแมลงกัดต่อยหรือรักษาฝี  ใช้เหง้าสดยาวประมาณ 2 นิ้ว                             ฝนหรือตำกับน้ำต้มสุก ทาบริเวณที่เป็น หรือถ้ามีเหง้าแห้ง ให้ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผงละเอียด ผสมน้ำเล็กน้อย ทาผิวหนัง

สารสำคัญ  น้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin 

 

แหล่งอ้างอิง         ดร.วิทย์  เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมสมุนไพรไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1,โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์,

   กรุงเทพฯ, 2531.

วุฒิ  วุฒิธรรมเวช. สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย, สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์,

   กรุงเทพฯ, 2540