แก้ว

แก้ว

441812

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Murraya paniculata  (L.) Jack

ชื่อวงศ์ :   RUTACEAE

ชื่อสามัญ :   Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine.

ชื่ออื่น :  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)       

             แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว                                                                 ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง                                                                   เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล

ส่วนที่ใช้ :  ราก ใบ

สรรพคุณ :  เป็นยาขับประจำเดือน

วิธีและปริมาณที่ใช้ : 
          ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น

การเตรียมสมุนไพรอย่างง่ายและวิธีใช้

ใช้แก้วรักษาอาการปวดฟัน โดยนำใบสดตำพอแหลก แช่เหล้าโรงในอัตราส่วน 15 ใบย่อย หรือ  1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร และนำเอายาที่ได้มาทาบริเวณที่ปวด

สารสำคัญ

ใบประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มแอลคาลอยด์(Indole)น้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสาร 

ประเภท Sesquiterpenes จากการศึกษาวิจัยพบว่า ใบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Micrococcus Pyogenes  

var. aureus และ E. coli

          ด้านพิษวิทยา Nakanishi K, และคณะ(1965) ได้ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดด้วย

แอลกอฮอล์ จากเปลือกต้นหรือทั้งตั้น พบว่า เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูหดลอง ขนาด 1 ก./กก. ทำ

ให้หนูตายครึ่งหนึ่ง

 

 

แหล่งอ้างอิง  :  นพ.ปัจจุบัน  เหมหงษาและคณะ. (2542). สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน(ฉบับปรับปรุง)                

                               โรงพิมพ์องค์กรทหารผ่าศึก