-
หมวด: สมุนไพรไทย
-
05 กันยายน 2560
-
เขียนโดย Super User
-
ฮิต: 5089
ผักบุ้งนา
ชื่ออื่นๆ ผักทอดยอด ผักบุ้ง ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร โหนเดาะ
การใช้ผักบุ้งรักษาโรคต่างๆ
ต้นสด แก้เลือดกำเดาออกมากผิดปกติ ตำผสมน้ำตาลทรายชงน้ำร้อนดื่ม
ต้นสด แก้แผลมีหนองช้ำ ต้มน้ำให้เดือดนานๆ ทิ้งไว้พออุ่นเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
ต้นสด แก้พิษตะขาบกัด เติมเกลือ ตำพอกแผล
ลำต้น แก้หนองใน ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ตำคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
ต้น แก้ริดสีดวงทวาร สด 1 กิโลกรัม กับน้ำ 1 ลิตร ต้มให้เละ เอากากทิ้งใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม เคี่ยวให้ข้นเหนียว ทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนหาย
ราก แก้ปวดฟัน ฟันเป็นรู นำรากสด 120 กรัม ผสมน้ำส้มสายชู คั้นนำน้ำอมบ้วนปาก
สรรพคุณทางยา
ราก ใช้ถอนพิษ แก้ผิดสำแดง แก้โรคตา แก้ตกขาวในสตรี แก้ปวดฟันเนื่องจากฟันเป็นรู แก้ไอเรื้อรัง แก้เหงื่อออกมาก แก้บวม แก้พิษงูเห่า
เถา ถอนพิษ แก้พาเบื่อเมา ถอนพิษยาทั้งปวง แก้ตาฟาง แก้โรคตา
ยอดอ่อน ถอนพิษ รักษาริดสีดวงทวาร แก้เด็กเป็นหวัด
ใบ แก้พิษขนของบุ้ง รักษาริดสีดวงทวาร ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้ตาฟาง แก้พิษฝี ปวด อักเสบ ดอกตูม
ทั้งต้น รักษาตาแดง รักษาตาฟาง รักษาตามัว แก้เบาหวาน แก้ปวดศีรษะ แก้ผิวหนังผื่นคัน แก้กลากเกลื้อน เป็นยาระบาย แก้ไข้ แก้โรคนอนไม่หลับ ถอนพิษ แก้พิษเบื่อเมา
-
หมวด: สมุนไพรไทย
-
05 กันยายน 2560
-
เขียนโดย Super User
-
ฮิต: 2360
แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสามัญ : Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine.
ชื่ออื่น : กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)
แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล
ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ
สรรพคุณ : เป็นยาขับประจำเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า-เย็น
การเตรียมสมุนไพรอย่างง่ายและวิธีใช้
ใช้แก้วรักษาอาการปวดฟัน โดยนำใบสดตำพอแหลก แช่เหล้าโรงในอัตราส่วน 15 ใบย่อย หรือ 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร และนำเอายาที่ได้มาทาบริเวณที่ปวด
สารสำคัญ
ใบประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มแอลคาลอยด์(Indole)น้ำมันหอมระเหยประกอบด้วยสาร
ประเภท Sesquiterpenes จากการศึกษาวิจัยพบว่า ใบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Micrococcus Pyogenes
var. aureus และ E. coli
ด้านพิษวิทยา Nakanishi K, และคณะ(1965) ได้ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดด้วย
แอลกอฮอล์ จากเปลือกต้นหรือทั้งตั้น พบว่า เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูหดลอง ขนาด 1 ก./กก. ทำ
ให้หนูตายครึ่งหนึ่ง
แหล่งอ้างอิง : นพ.ปัจจุบัน เหมหงษาและคณะ. (2542). สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน(ฉบับปรับปรุง)
โรงพิมพ์องค์กรทหารผ่าศึก