Login Form

30514016
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
12023
54195
328962
29783335
951042
920894
30514016

Your IP: 18.191.28.200
2025-01-18 05:14

คุณภาพของน้ำดื่ม

คุณภาพของน้ำดื่ม

355747

 

คุณภาพของน้ำดื่ม

ลักษณะของน้ำดื่มที่มีคุณประโยชน์กับร่างกายมนุษย์มีดังนี้

1. ปราศจากสารปนเปื้อนทางเคมี และสารอินทรีย์ต่าง ๆ อาทิ เชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี

2. ประกอบด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิ โปแตสเซียม แมกมีเซียม แคลเซียม เป็นต้น การที่น้ำมีแร่ธาตุละลายอยู่ มากจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว นอนหลับ สดใส กระปรี้ กระเปร่า ลดคอลเลสเตอรอลและจิตใจสงบผ่อนคลาย

3. มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดเล็ก ทำให้แทรกซึมสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถ นำพาสาร อาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง และนำพาของเสีย ออกมาจากเซลล์ไปทิ้งได้

4. มีความกระด้างของน้ำปานกลาง มีประจุไฟฟ้าสูงและเป็นสื่อนำความร้อนที่ดี

5. มีความเป็นด่างอ่อน ๆ โดมีค่าความเป็นกรด - ด่างระหว่าง pH 7.25 - 8.50 เพื่อช่วยกำจัดความ เป็นกรด และของเสียในร่างกาย ทำให้ร่างกายมีภาวะที่สมดุล

6. มีปริมาณออกซิเจนเจือปนอยู่ด้วยสูง วัดค่าได้ประมาณ 5 มิลลิกรัม ต่อลิตร

ลักษณะของน้ำดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง

1. น้ำอ่อน คือน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุและมีส่วนเกี่ยวพันกับการเกิดโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

2. น้ำกลั่น ซึ่งไม่มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์อยู่เลยเป็นผลให้ร่างกายต้องดึงแร่ธาตุ ที่จำเป็น เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือแร่อื่น ๆ ออกมาใช้ จึงอาจทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุเหล่านี้

3. น้ำดื่มบรรจุขวด ที่ไม่ได้มาตรฐานแม้จะดูใส และปลอดภัยกว่าน้ำประปา แต่ 25 % ของน้ำดื่มบรรจุขวดเป็นเพียงการนำน้ำประปามาใส่ขวด และปรับปรุงคุณภาพเล็กน้อยเท่านั้น

4. น้ำประปามีคลอรีนซึ่งช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียแต่จะก่อให้เกิดสารพิษชื่อไตฮา โลมีเทน  เกิดจากคลอรีนทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในธรรมชาติซึ่งละลายอยู่ในน้ำ ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ

5. น้ำอัดลม ทำมาจากน้ำกลั่นหรือน้ำอ่อนที่ไม่มีแร่ธาตุ ทำให้ร่างกายต้องสูญเสียแร่ธาตุและดึงแร่ธาตุที่ จำเป็นออกมาใช้ อาทิแคลเซียมและแร่ธาตุเหล่านี้จะสูญเสียออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ และอื่น ๆ ซึ่งการสูญเสีแร่ธาตุจากร่างเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ต่อมา เช่น กระดูกพรุน ข้ออักเสบ ความ เสื่อมต่าง ๆ แก่ก่อนวัย เป็นต้น

6. น้ำหวาน / น้ำผลไม้สำเร็จรูป เป็นเพียงน้ำตาลกับสีผสมน้ำ โดยแต่งกลิ่นธรรมชาติเข้าไปและอาจเติมวิตามินหรือแร่ธาตุปะปนอยู่บ้าง แต่จะก่อให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดีกับร่างกายในระยะยาว

5 ผัก ตัวช่วยสร้างนมแม่

5 ผัก ตัวช่วยสร้างนมแม่

ผกผลไม

 

หัวปลี

          มีธาตุเหล็กมาก ช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี นำมาประกอบอาหาร    เช่น แกงเลียง ยำหัวปลี ทอดมันหัวปลี ต้มข่าไก่ใส่หัวปลี หัวปลีชุบแป้งทอด  ต้มหัวปลีจิ้มน้ำพริก

ฟักทอง

          อุดมไปด้วยวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน นำมาประกอบอาหาร เช่น แกงเลียง ฟักทองนึ่ง ฟักทองผัดไข่ แกงบวดฟักทอง

ขิง

          ช่วยขับเหงื่อ ขับลม ไล่ความเย็น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหารช่วยให้ร่างกายอบอุ่น นำมาประกอบอาหาร เช่น มันต้มขิง ปลาผัดขิง กระเพาะหมูผัดขิง

ใบกระเพา

           มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนม นำประกอบอาหาร เช่น ผัดกระเพาหมู ไก่ หรือ ปลา ต้มจืดใบกระเพราหมูสับ

กุ้ยช่าย

            ทั้งต้นและใบช่วยบำรุงน้ำนม นำมาประกอบอาหาร เช่น กินแนมกับผัดไทย   กุ้ยช่ายทอด ผัดกุ้ยช่ายตับ

โภชนบัญญัติสำหรับคนไทย

โภชนบัญญัติสำหรับคนไทย

150417

              ในอดีตที่ผ่านมา การแนะนำให้คนไทยกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการเพื่อให้มีภาวะโภชนาการที่ดี โดยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินอาหารให้ได้ “สารอาหาร” ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย คือ คนไทยส่วนมากรู้จักมักคุ้นกับอาหารหลัก 5 หมู่ เป็นอย่างดี จึงต้องยอมรับว่า “อาหารหลัก 5 หมู่” เป็นจุดเริ่มต้นที่คนไทยใช้เป็นหลักยึดปฏิบัติในการกินอาหารตลอดมา

                   มา ณ ปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมตะวันตกได้ไหลบ่าเข้าสู่สังคมไทย จนสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รวมถึงพฤติกรรมทางอาหารการกินของคนไทยไปอย่างรวดเร็ว ผลการเปลี่ยนแปลงได้สะท้อนออกมาให้เห็นในหลายๆ ด้านในขณะที่เรายังขจัดโรคขาดสารอาหารไม่สำเร็จ โรคอันเกิดจากกินอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายที่สำคัญต้นๆ ของคนไทย

                   ต้นเหตุสำคัญเกิดจากคนไทยยังขาดความรู้ และแนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการกินอาหารด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมกันจัดทำ “ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย” ขึ้น หรือเรียกให้ง่ายว่า “โภชนบัญญัติสำหรับคนไทย” ซึ่งมี 9 ข้อ ดังนี้

                   ข้อแรก กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูและน้ำหนักตัว

                   ข้อที่ 2 กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เป็นบางมื้อ

                   ข้อที่ 3 กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ

                   ข้อที่ 4 กินปลาเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ

                   ข้อที่ 5 ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

                   ข้อที่ 6 กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร

                   ข้อที่ 7 หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด

                   ข้อที่ 8 กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน

                   ข้อที่ 9 งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

                   การกำหนดโภชนบัญญัติ 9 ข้อนี้ขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้คนไทยยึดเป็นแนวการกินอาหารให้ถูกต้องเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีภาวะโภชนาการและสุขภาพที่ดี

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

260932

 

ผู้สูงอายุจะมีกิจกรรมลดลง และร่างกายมีการทำงานลดน้อยลง มีผลให้ความต้องการพลังงานลดลงร้อยละ 20-30 เมื่อเปรียบเทียบกับคนหนุ่มสาว ผู้สูงอายุชาย อายุ 60-69 ปี ต้องการพลังงานเฉลี่ยประมาณ 2,200 กิโลแคลอรี/วัน ผู้สูงอายุหญิงอายุ 60-69 ปี ต้องการพลังงานประมาณ 1,850 กิโลแคลอรี/วัน ผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ต้องการพลังงานลดลงไปอีกร้อยละ 10-12 ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเลือกชนิดอาหารที่เหมาะสมกับวัย

ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นประจำ และเลือกแต่ละหมู่ให้หลากหลาย ได้แก่ 1) หมู่เนื้อสัตว์  2) หมู่แป้งและน้ำตาล  3) หมู่ไขมัน  4) หมู่ผัก  และ 5) หมู่ผลไม้
               1. หมู่เนื้อสัตว์ อาหารหมู่นี้ ได้แก่  เนื้อสัตว์ทุกชนิด นม ไข่ ถั่ว เป็นอาหารที่มีโปรตีนเป็นหลัก ช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ ช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค และร่างกายแข็งแรง ผู้สูงอายุควรรับประทานเนื้อปลา หากรับประทานเนื้อสัตว์อื่น ควรต้มให้เปื่อย หรือสับให้ละเอียด ควรรับประทานไข่สัปดาห์ละไม่เกิน 3 ฟอง รับประทานไข่ขาวได้ไม่จำกัด  เนื่องจากไข่ขาวมีโปรตีนคุณภาพดี ควรรับประทานทุกวัน ดื่มนมวันละ 1 แก้ว บางคนดื่มนมอาจทำให้ท้องเสีย ควรดื่มนมถั่วเหลืองแทน ผู้สูงอายุที่มีโรคไต ควรระมัดระวังอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วลิสง  ถั่วแดง  ถั่วดำ เมล็ดมะม่วงหิมะพานต์ ฯลฯ) เครื่องในสัตว์ ปลาตัวเล็กกินทั้งกระดูก กุ้งแห้ง ไข่แดง ไข่ปลาเพราะมีฟอสฟอรัสมาก
               2. หมู่แป้งและน้ำตาล อาหารหมู่นี้ ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน เป็นอาหารที่ให้พลังงาน ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ไขมันสะสม ทำให้อ้วน และน้ำตาลในเลือดสูง ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารหมู่นี้ลดลง เพราะความต้องการพลังงานในผู้สูงอายุลดลง ควรเลือกอาหารที่ทำจากแป้งที่มีโปรตีน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง บะหมี่ ข้าวโพด เผือก มัน ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต ลูกเดือย
ผู้สูงอายุควรรับประทานข้าวมื้อละ 1 จาน ประมาณ 1 ถ้วย หรือ 2 ทัพพีเล็ก ผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตควรรับประทานข้าวขาว ขนมปังขาว และไม่รับประทานอาหารแป้งที่มีโปรตีนสูง ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ควรระมัดระวังน้ำตาล ควรงดขนมหวานหรือมีไขมันทุกชนิด เช่น ทองหยิบ ขนมหม้อแกง กล้วยบวชชี เค้กที่มีครีม เครื่องดื่มทุกชนิดไม่ควรใส่น้ำตาลมาก เนื่องจากน้ำตาล 1 ช้อนชา ให้พลังงานมากถึง 20 กิโลแคลอรี
              3. หมู่ไขมัน ไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงาน ช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ไขมันในอาหารแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ไขมันอิ่มตัว และไขมันไม่อิ่มตัว

ไขมันอิ่มตัว เป็นไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากจะทำให้ระดับโคเลสเตอรอล และไขมันชนิดไม่ดี ในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ไขมันชนิดนี้มีมากในไขมันจากสัตว์ และน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ เนย ครีม ครีมซีส น้ำมันหมู น้ำมันวัว 
ไขมันไม่อิ่มตัว เป็นไขมันที่ควรรับประทานเนื่องจากมีกรดไขมันที่จำเป็นซึ่งร่างกายสร้างไม่ได้ ช่วยในการลดระดับโคเลสเตอรอล และไขมันชนิดไม่ดีในเลือด กรดไขมันไม่อิ่มตัว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

                    1) กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ควรใช้เป็นประจำในการผัดและทอดอาหาร  มีมากในน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา น้ำมันถั่วลิสง
                    2) กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ควรใช้ผัดอาหารแทนการทอด น้ำมันชนิดนี้มีกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างไม่ได้จำนวนมาก ช่วยในการลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือดได้หากใช้จำนวนมาก กรดไขมันชนิดนี้มีมากในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย
                  การเลือกใช้น้ำมัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการลดไขมันในเลือด ควรใช้น้ำมันรำข้าวสลับกับน้ำมัน 
ถั่วเหลือง หรือน้ำมันข้าวโพดสลับกับน้ำมันรำข้าวในการประกอบอาหาร โดยใช้น้ำมันรำข้าวในการทอด และใช้น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันถั่วเหลืองในการผัด 
                   น้ำมันและไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม  หมูติดมัน เนื้อวัวติดมัน
หมูกรอบ หนังเป็ด หนังไก่ เนย ครีม 
อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม มันกุ้ง มันปลา ครีม เนย ขนมอบต่างๆ ที่ใช้เนย 
                     อาหารที่มีไตรกลีเซอไรด์มาก  ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารทอดทุกชนิด อาหารอบที่มีไขมันมาก น้ำตาลและขนมหวานต่างๆ ผลไม้หวานจัด ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน เครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีรสหวานหรือผสมน้ำตาล เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
               4. หมู่ผัก ผักมีวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินอี เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก  เหล็ก แคลเซียม โปแตสเซียม ใยอาหาร และมีสารไฟโตเคมิคอล (phytochemical) ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็ง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ท้องไม่ผูก และไม่อ้วน
ผักที่ผู้สูงอายุควรรับประทาน ได้แก่ ผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง ผักเขียว มะเขือ ถั่วแขก ถั่วฝักยาว แตงกวา ผักที่มีสีเหลือง หรือแดง เช่น ฟักทอง พริกหวาน ผู้สูงอายุรับประทานได้มาก 
ผักที่มีโปแตลเซียมสูง ผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน หรือรับประทานแต่น้อย ได้แก่ เห็ด หน่อไม่ฝรั่ง ดอกกระหล่ำ แครอท บรอคโคลี่  ผักโขม ผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ใบแค คื่นช่าย สะเดา ฟักทอง ข้าวโพด มันเทศ มันฝรั่ง น้ำผัก ผักแม้ว ผักหวาน หัวปลี
              5. หมู่ผลไม้ ผลไม้มีวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร และน้ำตาลมาก เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ผู้สูงอายุเลือกรับประทานผลไม้ได้ทุกชนิดยกเว้นผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน น้อยหน่า เพราะจะทำให้อ้วนและระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ นอกจากนี้ ผลไม้ส่วนใหญ่มีโปแตสเซียมสูง ผู้สูงอายุที่มีไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต้องรับประทานน้อยลง และถ้ามีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง ควรงดผลไม้ทุกชนิด ผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูง ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ ทุเรียน กล้วย ฝรั่ง
น้ำ นอกจากอาหาร 5 หมู่ ที่ต้องรับประทานเป็นประจำควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เนื่องจาก น้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ช่วยการย่อยอาหาร และขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ผู้สูงอายุส่วนมากดื่มน้ำไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำประมาณ 6-8 แก้ว ทุกวัน ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือเป็นโรคหัวใจล้มเหลว มีอาการบวม ควรจำกัดน้ำดื่มและอาหารที่มีน้ำมาก ตลอดจนหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม และอาหารรสจัด  เนื่องจากทำให้กระหายน้ำและดื่มน้ำมากขึ้น

หลักการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ 
1. รับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ครบ 5 หมู่ ให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ควรรับประทานโปรตีนวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว กิโลกรัม หากได้รับโปรตีนมากเกินไป ร่างกายจะนำไปสะสมในรูปของไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน ไม่ควรรับประทานมากเกินเพราะจะทำให้เกิดโรคอ้วน
2. รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง (4-5 มื้อ) และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส และท้องผูก
3. ลักษณะอาหารต้องอ่อนนุ่ม เปื่อย สะดวกต่อการเคี้ยวและย่อยง่าย เช่น ปลานึ่ง ปลาทอดไม่กรอบ
4. ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ระมัดระวังอาหารที่เน่าเสียและมีสารพิษเจือปน และไม่รับประทานอาหารที่ปรุงด้วยผงชูรส และมีสารกันบูด
5. ไม่รับประทานอาหารรสจัดหรือของหมักดอง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัด
ควรดื่ม น้ำขิง น้ำมะตูม น้ำส้มคั้น น้ำนมพร่องมันเนย หรือน้ำนมถั่วเหลือง 
6. ควรงดดื่ม ชา  กาแฟ  สุรา และงดสูบบุหรี่ทุกชนิด
7. ดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียง ประมาณวันละ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย
8. ควรรับประทานอาหารประเภท ข้าว แป้ง และน้ำตาลให้น้อยลง เนื่องจากจะทำให้อ้วนไม่ควรรับประทานข้าวขัดเป็นสีขาวและข้าวที่ปรุงใส่กะทิ ไขมัน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวเหนียว ขนมเชื่อม และขนมหวานต่างๆ
9. รับประทานไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด
10 ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ เช่น หมูสามชั้น ขาหมู หนังไก่ทอด อาหารทอด หรือผัดควรใส่น้ำมันน้อย เช่น ไข่เจียว ผัดผัก
11.  ไม่รับประทานอาหารไขมันสูง เช่น น้ำมันหมู น้ำมันจากไก่ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
ของทอดต่างๆ  เช่น ปลาท่องโก๋ กล้วยทอด อาหารชุบแป้งทอด 
12. ไม่รับประทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ละมุด กล้วยหอม ลำไย น้อยหน่า ขนุน
13. ควรรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่  และวิตามินให้เพียงพอ ดังนี้
      13.1 แคลเซียม ผู้สูงอายุมักเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเกิดในหญิงมากกว่าชาย การได้รับแคลเซียมเพียงพอจะช่วยให้กระดูกแข็งแรง ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมมาก ได้แก่ น้ำนม หรือนมถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เป็นต้น
      13.2 เหล็ก ผู้สูงอายุควรได้อาหารที่มีธาตุเหล็กมากเพียงพอ ประมาณวันละ 6 มิลลิกรัม ในขณะเดียวกันต้องได้โปรตีนและวิตามินซี ด้วย เพื่อช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก อาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง เป็นต้น
      13.3 เกลือ ผู้สูงอายุควรรับประทานเกลือลดลง โดยเฉพาะผู้ที่มีความดันโลหิตสูง แต่ผู้สูงอายุมักชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัดเพราะลิ้นรับรสได้น้อยลง
      13.4 วิตามิน วิตามินที่สำคัญ คือ วิตามินซี ควรรับประทาน 30 มิลลิกรัม โดยดื่มน้ำส้มคั้นวันละ 1 แก้ว
ผู้สูงอายุจะมีการหลั่งน้ำย่อยและน้ำลายลดลง ควรรับประทานอาหารอ่อนที่เคี้ยวง่าย กลืนง่าย และย่อยง่าย โดยเฉพาะถ้าใส่ฟันปลอม หรือมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืน อาจต้องรับประทานอาหารเหลว อาหารประเภทเนื้อควรสับหรือบด หรือตุ๋นจนเปื่อย หรือปั่นใส่น้ำซุป

สรุป ผู้สูงอายุควรได้รับอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย รับประทานครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอโดยเลือกชนิดอาหารแต่ละหมู่อย่างเหมาะสมรวมทั้งคำนึงถึงความเจ็บป่วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคไตเรื้อรัง ควรศึกษาเรื่องอาหารและเลือกบริโภคอย่างถูกต้องตามสภาพแวดล้อมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้ยืนยาวขึ้น
——————————-
บรรณานุกรม 
ฤกษ์ชัย  วราทร  คู่มืออาหารสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ที่เป็นเบาหวาน กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.ที
ครีเอทีฟ เฮ้าส์ 
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อาหารสำหรับผู้สูงอายุ 2544
อาหารคนสูงอายุ http:// www.studentchula.ac.th/~ 49370781/adult.htm  ค้นคืน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2553
อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ hltp:// www.stou.ac.th/ANU/Healthy thaiteen/HTT/Howang/c 13.htm

เขียนโดย: รองศาสตราจารย์ ดร.ศรีนวล  สถิตวิทยานันท์ 

ขอบคุณ : http://www.msdbangkok.go.th/BKT/b3.html

ทารกกินนมแม่ 6 เดือนหรือมากกว่า ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ทารกกินนมแม่ 6 เดือนหรือมากกว่า ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค

455714

 

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ล้างความเชื่อการเลี้ยงเด็กทารก ย้ำ คำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกแนะ ทารกควรกินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนหรือมากกว่า ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค หลังครบ 6 เดือนจึงให้กินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย

        จากข่าวในสังคมออนไลน์ที่คุณแม่ท่านหนึ่งได้สูญเสียลูก เนื่องจากปู่กับย่าได้ป้อนยาลูกกลอนพร้อมกับกล้วยหอมและกระเทียม โดยบอกว่าทำกันมาตั้งแต่โบราณ แต่หลังจากนั้น 2 คืน เด็กก็เสียชีวิตลง ซึ่งแพทย์ระบุว่าร่างกายของเด็กไม่สามารถรับได้ ความเชื่อและการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกและองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ เด็กควรได้กินนมแม่อย่างเดียวติดต่อกันตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน โดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่ายและถูกสร้างมาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของทารกที่มีระบบการย่อยและดูดซึมอาหารยังพัฒนาไม่เต็มที่ หากกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมแม่เข้าไป อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย แพ้อาหาร และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากลำไส้อุดตัน แต่หลังจากทารกอายุครบ 6 เดือน เมื่อระบบย่อยและดูดซึมอาหารพัฒนาได้ค่อนข้างสมบูรณ์แล้วจึงให้เริ่มกินอาหารที่เหมาะสมตามวัย เช่น กล้วยน้ำว้า ไข่แดง ข้าว ผัก ผลไม้ และสารอาหารอื่นๆ ควบคู่กับการกินนมแม่ต่อเนื่องไปจนถึงอายุอย่างน้อย 2 ขวบ

         "นมแม่ ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับลูก มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต พัฒนาสมอง จอประสาทตา ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว นมแม่ในระยะ 1-7 วันแรก จะมียอดน้ำนมที่เรียกว่า หัวน้ำนม หรือโคลอสตรัม ถือเป็นยอดอาหารที่อุดมไปด้วยสารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วน ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันสูงสุด เปรียบเสมือนได้รับวัคซีนหยดแรกของชีวิต เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เพราะเด็กแรกเกิดจะยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองได้ ทารกที่ได้ดื่มนมแม่จึงมีภูมิต้านทานในการต่อต้านเชื้อโรค และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ เช่น การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ลดภาวะเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ หอบหืดหูอักเสบเป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า ทารกที่กินนมแม่มีการพัฒนาความสามารถทางสมองดีกว่าทารกที่ไม่กินนมแม่

ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย