Login Form

30517642
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
15649
54195
332588
29783335
954668
920894
30517642

Your IP: 18.224.43.98
2025-01-18 06:53

ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2559 - 2563)

ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2559 - 2563)

2017 10 12 090432

คลิ๊ก

กรม สบส. เร่งฟื้นฟูสถานพยาบาล และให้ความรู้ประชาชนด้านสุขศึกษาหลังน้ำลด

กรม สบส. เร่งฟื้นฟูสถานพยาบาล และให้ความรู้ประชาชนด้านสุขศึกษาหลังน้ำลด

tajag6fqicv2

 

กรม สบส. เร่งฟื้นฟูสถานพยาบาล และให้ความรู้ประชาชนด้านสุขศึกษาหลังน้ำลด

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ส่งทีมเอ็มเสิร์ทเร่งฟื้นฟูให้ความช่วยเหลือสถานพยาบาลหลังน้ำลด      โดยดูแลหัวใจหลักของสถานพยาบาล ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสื่อสาร เครื่องมือแพทย์ และอาคารสถานที่และส่งเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ประชาชนด้านสุขศึกษาที่อาจเกิดได้ในช่วงหลังน้ำลด เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง          โรคไข้หวัด และโรคอุจจาระร่วง

นายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ถึงปัจจุบัน พบว่าสถานพยาบาลที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี         ศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ส่งทีมเอ็มเสิร์ท (Medical Supportive Emergency Response Team : MSERT) หรือทีมวิศวกรฉุกเฉิน จากกองแบบแผน กองวิศวกรรมการแพทย์ และสำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 2, 3, 7 และ 8 เข้าฟื้นฟูสถานพยาบาลหลังน้ำลดให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยทีมเอ็มเสิร์ทได้ดำเนินการเข้าไปจัดการฟื้นฟูโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร และโรงพยาบาลพังโคน จังหวัดสกลนคร และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการปฏิบัติการหัวใจหลักของสถานพยาบาลในการจัดการระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสื่อสาร เครื่องมือแพทย์ และอาคารสถานที่ เช่น กู้ชุดยูนิตทำฟัน เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า และซ่อมระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ให้กลับมาใช้งานได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งการปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการช่วยลดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และระบบต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้  ได้สั่งการสำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 1-12 ทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมรับมือฝนตกหนักที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือสถานพยาบาลให้สามารถมาใช้งานได้ตามปกติ สามารถบริการประชาชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง

นายแพทย์ประภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีความห่วงใยประชาชนในพื้นที่        จึงได้มอบหมายให้กองสุขภาพภาคประชาชน และกองสุขศึกษา ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคที่อาจมาในช่วงหลังน้ำลด เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคไข้หวัด และโรคอุจจาระร่วง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการนำไปปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว และได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการช่วยเหลือประชาชนในการปฏิบัติงานที่ได้เสียสละ ทุ่มเท เพื่อช่วยเหลือสถานพยาบาลที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ให้สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ตามปกติต่อไป 

แหล่งข่าวโดย » กลุ่มประชาสัมพันธ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปิดบริการห้องปฏิบัติการตรวจหาสารพันธุกรรมเชื้อก่อโรคไอกรนแห่งแรกในภาคใต้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เปิดบริการห้องปฏิบัติการตรวจหาสารพันธุกรรมเชื้อก่อโรคไอกรนแห่งแรกในภาคใต้

o8p51niu66tb

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการตรวจหาสารพันธุกรรมเชื้อก่อโรคไอกรน ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ซึ่งเป็นแห่งแรกในภาคใต้ เป็นวิธีที่มีความไว มีความแม่นยำสูง ทราบผลภายใน 1 วัน เพื่อแก้ปัญหาโรคไอกรนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียบอร์เดเทลลา เพอร์ตัสซิส (Bordetella pertussis) โรคไอกรนก่อให้เกิดการไออย่างรุนแรง ต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะในเด็กทารกและเด็กเล็กจะมีความรุนแรงมากหรือหยุดหายใจได้ โดยมีภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ปอดอักเสบ อาจมีความรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนั้นยังอาจพบภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท อาจมีอาการชักเกร็ง สำหรับประเทศไทยจากข้อมูลเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 24 ก.ค. 60 พบผู้ป่วย 42 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยภาคใต้ มีอัตราป่วยสูงสุด 0.11 ต่อแสนประชากร ซึ่งพบมากในกลุ่มอายุ 1-3 เดือน
         ซึ่งที่ผ่านมาการตรวจยืนยันการติดเชื้อ B.pertussis ใช้วิธีการเพาะเชื้อ ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้เวลาตรวจ ประมาณ 3-7 วัน มีความไวต่ำ วิธีการยุ่งยาก และต้องใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเฉพาะ โดยมีข้อจำกัดเรื่องตัวอย่างต้องส่งตรวจห้องปฏิบัติการทันที ดังนั้นเพื่อเป็นการรองรับสถานการณ์ของโรคไอกรน ซึ่งปัจจุบันยังเป็นปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา จึงได้พัฒนาศักยภาพบุคลากรและห้องปฏิบัติการ และเปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยเชื้อก่อโรคไอกรน ด้วยเทคนิค Multiplex real-time PCR ซึ่งเป็นวิธีที่มีความไว มีความแม่นยำสูง และสามารถตรวจได้ภายใน 1 วัน โดยตรวจหาเชื้อแบคทีเรียก่อโรคไอกรน 2 ชนิด คือ B. pertussis และ B.parapertussis ซึ่ง B. pertussis ทำให้เกิดโรคไอกรน (whooping cough) ส่วน B. parapertussis ทำให้เกิดโรคไอกรนอย่างอ่อนๆ โดยใช้ตัวอย่างจากสารคัดหลั่ง Nasopharyngeal swab หรือ Nasopharyngeal aspirate ของผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค ที่เก็บใส่หลอดปราศจากเชื้อ ส่งห้องปฏิบัติการในสภาวะแช่เย็น 
 
 นายแพทย์สุขุม กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา เป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาค สังกัดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมใน 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จากผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือน ส.ค.59 – ก.ค.60 รวมทั้งสิ้น 71 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากผู้ป่วย 21 ราย พบเชื้อ B.pertussis 7 ราย (ร้อยละ 33.3) และผู้สัมผัส 50 ราย พบเชื้อ B.pertussis 2 ราย (ร้อยละ 4.0) ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ จากการนำเทคนิค Multiplex real-time PCR มาใช้ตรวจยืนยันการติดเชื้อไอกรน ทำให้ห้องปฏิบัติการสามารถรายงานผลได้ภายใน 1 วัน เมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธีเพาะเชื้อที่ใช้เวลา 3-7 วัน ส่งผลดีต่อผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรค สามารถได้รับยารักษาอย่างสมเหตุสมผล ช่วยป้องกันเชื้อดื้อยา ลดความรุนแรงของโรคและการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ทั้งนี้ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ เพื่อรองรับบริบทพื้นที่ และสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้บริการเป็นหน่วยงานแรกและแห่งเดียวในภาคใต้
 
แหล่งข่าวโดย » ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

 

หมวดหมู่รอง