ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )
- หมวด: โรคและภัยสุขภาพ
- 06 กันยายน 2560
- เขียนโดย Super User
- ฮิต: 10678
ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )
ไข้กุหลาบในทารก หรือ หัดดอกกุหลาบ (ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ roseola, roseola infantum, exanthema subitum และ sixth disease) เป็นไข้ร่วมกับผื่นขึ้นที่พนในเด็กที่อายุ 3 เดือนถึง 3 ปี พบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 6-12 เดือน และพบได้น้อยมากในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
โบราณรียกผื่นที่ขึ้นร่วมไข้ว่า สาไข้ เนื่องจากเด็กเล็กที่เป็นส่าไข้มักมีสาเหตุจากไข้ผื่นกุหลาบในทารก ดังนั้น เมื่อพูดถึงสาไข้ในเด็กเล็กมักจะหมายถึงโรคนี้
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า human herpesvirus type 6 (HHV6) เป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจาก human herpesvirus type 7 (HHV7) เชื้อมีอยู่ในเสมหะน้ำลายของผู้ป่วย ติดต่อโดย
การหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสมือ สิ่งของ (เช่น แก้วน้ำ ) หรือสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับไข้หวัด(1)
ระยะฟักตัว 5-15 วัน
อาการ
มีไข้สูงเกิดขึ้นฉับพลัน อาจมีลักษณะตัวร้อนตลอดเวลา แต่เด็กส่วนใหญ่จะร่าเริงและ
ดื่มนม ดื่มน้ำ กินอาหารได้ดี บางรายอาจมีอาการหงุดหงิด งอแง หรือเบื่ออาหารเล็กน้อย ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย แต่บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ หรือท้องเดินเล็กน้อย บางรายขณะไข้ขึ้นสูงอาจมีอาการชักจากไข้ (68)
อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้วอยู่ๆไข้ก็ลดลงเป็นปกติ ในช่วงที่ไข้ลดหรือหลังจากไข้ลดภายในไม่กี่ชั่วโมงจะมีผื่นเล็กๆสีแดงคล้ายกุหลาบขึ้น โดยเริ่มขึ้นที่หน้าอก หลัง ท้อง แล้วกระจายไปที่คอ และ แขน อาจขึ้นไปที่หน้าหรือลงไปที่ขาหรือไม่ก็ได้ ผื่นจะไม่คัน และจะเป็นอยู่นานไม่กี่ชั่วโมงถึง 2วัน แล้วจางหายไปอย่างรวดเร็ว ขณะผื่นขึ้นเด็กจะกลับมาแข็งแรงเป็นปกติทุกอย่าง
บางรายอาจมีไข้สูงเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีผื่นขึ้นหรืออาจมีผื่นจางๆ ไม่ชัดเจน ทำให้วินิจฉัยไม่ได้แน่ชัด
สิ่งตรวจพบ
ในระยะก่อนผื่นขึ้น จะพบไข้ 39.5-40.5◦ซ.
อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตที่บริเวณหลังหู ท้ายทอย หนังตาบวมเล็กน้อย เยื่อบุตาแดง
ในระยะไข้ลดแล้ว จะพบผื่นราบสีแดงขนาด 2-5 มม. ที่ลำตัวและแขน (ส่วนที่หน้าขามักเห็นไม่ชัด) ผื่นบางจุดอาจมีลักษณะนูนเล็กน้อย หรืออาจมีวงสีแดงจางๆอยู่รอบๆผื่นแดง
ภาวะแทรกซ้อน
อาจทำให้เกิดอาการชักจากไข้ (68) นานประมาณ 2-3 นาที พบได้ประมาณร้อยละ 6-15ของผู้ป่วย และนับเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของทารกที่มีอาการชักจากไข้
อาจมาสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือตับอักเสบแทรกซ้อน
ซึ่งพบได้น้อยมาก
เด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไขกระดูก
ไม่ทำงาน เป็นต้น
การรักษา
1.ระยะมีไข้สูง ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวและให้ยาพาราเซตามอล(ย1.2) ห้ามให้แอสไพริน(ย1.1) เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม (65.1)
ถ้ามีอาการชักร่วมด้วย ให้ดูแลแบบชักจากไข้(68)
2.ระยะผื่นขึ้น ซึ่งไข้ลงแล้วและเด็กท่าทางสบายดี ก็ไม่ต้องให้ยาอะไร เพียงแต่อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจและหายกังวง
3.การวินิจฉัยจะดูตามอาการแสดงเป็นสำคัญ กรณีที่จำเป็น จะยืนยันด้วยการทดสอบทางน้ำเหลือง เพื่อหารระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสก่อโรค
ข้อเสนอแนะ
1.โรคนี้พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก ถ้าพบเด็กวัยนี้มีไข้สูงหรือตัวร้อนตลอดเวลา โดยท่าทางค่อนข้างสบายดี ควรนึกถึงโรคนี้ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กกลับเป็นปกติดีหลังไข้ลงและมีผื่นขึ้นแล้ว
2.พ่อแม่หรือผู้ปกครองมักพาเด็กไปพบแพทย์ เมื่อเด็กไข้ลงและมีผื่นขึ้นแล้ว เพราะกังวนว่าจะเป็นหัด โรคนี้แยกจากหัด คือ โรคนี้หลังผื่นขึ้นเด็กจะหายตัวร้อนและสบายดี แต่โรคหัดนั้นขณะผื่นขึ้นจะมีไข้สูงต่อไปอีกหลายวัน นอกจากนี้ผื่นของโรคนี้จะขึ้นที่ลำตัวก่อน และเป็นผื่นเล็กๆอยู่แยกๆกัน ในขณะที่หัดจะขึ้นที่ใบหน้าก่อนแล้วค่อยกระจายลงล้าง และผื่นมักแผ่รวมกันเป็นแผ่นใหญ่
3.โรคนี้มักหายได้เองภายใน 2-3วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ และจัดว่าไม่มีอันตรายแต่อย่างใดนอกจากอาจทำให้เกิดอาการชักจากไข้ หรืออาการภาวะแทรกซ้อนในเด็กที่ภูมิคุ้มกันต่ำ
4.เมื่อเป็นแล้วมักไม่เป็นซ้ำ นอกจากบางคนหลังจากหายแล้วอาจมีเชื้อแฝงอยู่ในร่างกาย และต่อมาอาจกำเริบซ้ำได้
การป้องกัน
เมื่อมีเด็กในบ้านเป็นโรคนี้ ควรปฏิบัติดังนี้
1.แยกผู้ป่วยออกต่างหาก จนพ้นระยะติดเชื้อ (ระยะติดเชื้อต่อตั้งแต่ 2 วันก่อนมีไข้ ถึง 2 วันหลังไข้ลด)
2.อย่าใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่นอย่าดื่มแก้วน้ำร่วมกับผู้ป่วย
3.หมั้นล้างมือด้วนน้ำกับสบู่บ่อยๆ เพื่อขจัดเชื้อที่อาจติดที่มืออกมา
อ้างอิง
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 :350 โรคกับการดูแล
รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551