Login Form

28085850
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
22173
34875
57048
27883067
1220098
1091540
28085850

Your IP: 18.119.124.52
2024-11-25 13:22

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

images 1

 

หลอดลมอักเสบ  หมายถึง  การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม  ทำให้ต่อมเมือก  (mucous  gland)  โตขึ้นและหลั่งเมือก  ( เสมหะ )  ออกมามากกว่าปกติ  อุดกั้นในช่องทางเดินหลอดลมแคบลง  ส่งผลให้เกิดอาการไอมีเสมหะ  บางครั้งอาจมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย
                หลอดลมอักเสบ  แบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน  และชนิดเรื้อรัง  
                หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน  เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย  มักพบหลังเป็นไข้หวัด  ไข้หวัดใหญ่  หรือการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น  และในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสถูกสิ่งระคายเคือง  ส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง  และไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

สาเหตุ
                1.  จากการติดเชื้อ  ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่  และติดต่อแบบเดียวกับไข้หวัด  บางครั้งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย  ( เช่น Mycoplasma  pneumonia,  Clamydia  pneumonia,  Streptococcus  pneumonia,  Hemophilus  influenza,  Moraxella  catarrhalis )  แทรกซ้อนมักพบได้บ่อยในเด็กเล็ก  ผู้สูงอายุ  ผู้ที่ภูมิต้านทานโรคต่ำ  ผู้ที่สูบบุหรี่  หรือมีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรั้ง  
                2.  จากการถูกสิ่งระคายเคือง  ที่พบบ่อย  คือ  การสูบบุหรี่  ซึ้งทำให้ขนอ่อน  (ciia)  ที่เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหว  ( โบกพัดเพื่อปกป้องผิวหลอดลม )  น้อยลง  เยื่อบุหลอดลมถูกระคายเคือง  ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้น  มีเสมหะมากขึ้น
                นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากควัน  ไอเสียรถยนต์  ฝุ่นละออง  สารเคมี  รวมทั้งการระคายเคืองจากน้ำย่อยในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน  
                พบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่  หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งระคายเคือง  อาจเป็นๆหายๆ บ่อยและอาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ

อาการ
                ที่สำคัญ คือ อาการไอบ่อย  ระยะแรกจะไอแห้งๆแล้วไอมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาวใน  2-3  ชั่วโมงหรือ  2-3  วันต่อมา  ต่อมาเสมหะจะมีปริมาณมากขึ้น  อาจมีลักษณะเป็นสีขาว ( ถ้าเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคืองล้วนๆ )  หรือกลายเป็นเสมหะข้นสีเขียวหรือเหลือ  ( ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย )  ผู้ป่วยอาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำๆ อยู่นาน  3-5 วัน 
                ผู้ป่วยมักมีอาการเป็นไข้หวัด  เจ็บคอ  นำมาก่อนที่จะเกิดอาการไอ  บางรายอาจไม่มีอาการเหล่านี้นำมาก่อนก็ได้
                อาการไอมักเป็นอยู่นาน  1-3  สัปดาห์  แต่บางรายอาจไอนานกว่านี้  อาจไอมากกตอนกลางคืน  ( จนนอนไม่พอ )  หรือหลังตื่นนอนตอนเช้า  บางอาจมีอาการเสียงแหบ  เจ็บคอ  หรือเจ็บหน้าอกเวลาไอ  ในเด็กเล็กอาจไอจนอาเจียน
                บางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก  หรือหายใจหอบเหนื่อยร่วมด้วย


สิ่งตรวจพบ
ในรายที่อาการไม่รุนแรง  มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ  บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ  ( 38.3 - 38.8 ซ. )  หรือเป็นไข้หวัดร่วมด้วย
                การใช้เครื่องฟังตรวจปอด  อาจได้ยินเสียงหายใจหยาบ  ( coarse  breath  sound )  หรือมีเสียงอึ๊ด( rhonchi )  หรือเสียงกรอบแกรบ  ( crepitation )  บางอาจมีเสียงวี๊ด  ( wheezing )

ภาวะแทรกซ้อน
                ที่สำคัญ คือ ปอดอักเสบ  ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยกว่าร้อยละ  5  ของผู้ป่าว  พบได้บ่อยในทารก  ผู้สูงอายุ  ผู้ที่สูบบุหรี่  หรือมีโรคปอดเรื้อรัง  ( เช่น  หืด  ถุงลมปอดโป่งพอง )  อยู่ก่อน
                ในรายที่เป็นซ้ำซาก  อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมปอดโป่งพอง  ( โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ )  และหลอดลมพอง  บางรายอาจมีอาการไอเป็นเลือด

การรักษา
                1.  แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากขึ้น  อย่าตรากตรำงานหนัก  ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ  ( วันละ 10 –15 แก้ว )  เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น  งดสูบบุหรี่  หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองหรือสิ่งกระตุ้นให้ไอ  ( เช่น  ความเย็น  น้ำเย็น  น้ำแข็ง  ของทอด  ของมันๆ  ฝุ่น  ควัน  อากาศเสีย  ลมจากพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ  เป็นต้น )
               

2.  ให้ยารักษาตามอาการ  เช่น  ยาระงับการไอ  หรือยาขับเสมหะ  ยาลดไข้  
                ถ้าไอมีเสมหะข้นเหนียว  ควรหลีกเลี่ยงยาระงับการไอและยาแก้แพ้  อาจทำให้เสมหะเหนียว  ขับออกยาก  หรืออุดกั้นหลอดลมเล็ก  ทำให้ปอดบางส่วนแฟบได้
                3.  ถ้ามีเสียงวี้ดร่วมด้วยให้ยากระตุ้นบีตา  2  สูดหรือกิน
                4.  ยาปฏิชีวนะ  ถ้าไม่มีตีประจำตัวและมีเสมหะขาว  ( อาจเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคือง )  ไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ  จะให้เฉพาะในรายที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หรือหลอดลมพอง  ร่วมด้วย  หรือมีเสมหะเหลืองหรือเขียวเกิน  7  วัน  ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้  เช่น  อะม็อกซีซิลลิน  ดอกซีไซคลีน  หรือโคไตรม็อกซาโซล  นาน 7 – 10 วัน
                5.  ถ้าเสมหะยังเป็นสีเหลืองหรือเขียวหลังให้ยาปฏิชีวนะ 1 สัปดาห์  ยังรู้สึกหอบเหนื่อยหลังให้ยาขยายหลอดลม 3 วัน  สงสัยปอดอักเสบแทรกซ้อน  ( ไข้สูงหายใจหอบ )  มีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์  น้ำหนักลด  ไอออกเป็นเลือด  หรือมีอาการกำเริบมากกว่า 3 ครั้ง/ปี ควรส่งโรงพยาบาล  อาจต้องเอกซเรย์ปอด  ตรวจเสมหะบางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจหลอดลม  ( bronchoscopy )  และให้การรักษาตามสาเหตุ                ผลการรักษา  ส่วนใหญ่มักจะหายได้โดยการรักษาตามอาการ  ส่วนน้อยที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ  และน้อยรายที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา

ข้อแนะนำ
                โรคนี้มักเป็นหลังจากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่หลังให้การรักษาจนเชื้อโรคถูกกำจัดแล้ว  ( ในรายที่มีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว  จะกลายเป็นสีขาว )  ผู้ป่วยอาจไอโครกๆ อยู่นานเป็นสัปดาห์ๆ ลักษณะไอแห้งๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาว  ทั้งนี้เนื่องจากเยื่อบุหลอดลมถูกทำลายจากการอักเสบ  ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น  ( เช่น  บุหรี่  ควัน  ฝุ่น  ลม  ความเย็น  สิ่งระคายเคืองต่างๆ )  เยื่อบุหลอดลมจะค่อยๆ ฟื้นตัว  กว่าจะแข็งแรงเต็มที่ใช้เวลานานหลายสัปดาห์  ผู้ป่วยมักจะมีสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีควรให้การดูแลโดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ให้ยาแก้ไอบรรเทาเป็นครั้งคราว  ( ซึ้งไม่ได้ทำให้อาการไอหายเร็ว )  แล้วรอเวลาให้หายตามธรรมชาติ  ซึ่งแต่ละคนอาจมีระยะเวลาแตกต่างกันไป  โดยทั่วไปอาจใช้เวลานาน  7 -8  สัปดาห์  บางรายอาจนานถึง  3  เดือน
                แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย  เช่น  มีไข้เรื้อรัง  น้ำหนักลด  หอบเหนื่อย  ไอออกมาเป็นเลือด  ไอรุนแรง  หรือมีความวิตกกังวล  ก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
                ในรายที่ตรวจไม่พบสาเหตุอื่น  และมีอาการไอรุนแรง  แพทย์อาจพิจารณาให้ยาไอพราโทรเพียมโบรไมต์ชนิดสุด  อาจช่วยให้ทุเลาได้

ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )

ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )

 

ดาวนโหลด

 

ไข้กุหลาบในทารก หรือ หัดดอกกุหลาบ (ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ roseola, roseola infantum, exanthema subitum และ sixth disease) เป็นไข้ร่วมกับผื่นขึ้นที่พนในเด็กที่อายุ 3 เดือนถึง 3 ปี พบบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 6-12 เดือน และพบได้น้อยมากในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

                โบราณรียกผื่นที่ขึ้นร่วมไข้ว่า สาไข้ เนื่องจากเด็กเล็กที่เป็นส่าไข้มักมีสาเหตุจากไข้ผื่นกุหลาบในทารก ดังนั้น เมื่อพูดถึงสาไข้ในเด็กเล็กมักจะหมายถึงโรคนี้

 

สาเหตุ

            เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า human herpesvirus type 6 (HHV6) เป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจาก human herpesvirus type 7 (HHV7) เชื้อมีอยู่ในเสมหะน้ำลายของผู้ป่วย ติดต่อโดย

การหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสมือ สิ่งของ (เช่น แก้วน้ำ ) หรือสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับไข้หวัด(1)

                ระยะฟักตัว 5-15 วัน

 

อาการ

            มีไข้สูงเกิดขึ้นฉับพลัน อาจมีลักษณะตัวร้อนตลอดเวลา แต่เด็กส่วนใหญ่จะร่าเริงและ

ดื่มนม ดื่มน้ำ กินอาหารได้ดี บางรายอาจมีอาการหงุดหงิด งอแง หรือเบื่ออาหารเล็กน้อย ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย แต่บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ หรือท้องเดินเล็กน้อย บางรายขณะไข้ขึ้นสูงอาจมีอาการชักจากไข้ (68)

                อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้วอยู่ๆไข้ก็ลดลงเป็นปกติ ในช่วงที่ไข้ลดหรือหลังจากไข้ลดภายในไม่กี่ชั่วโมงจะมีผื่นเล็กๆสีแดงคล้ายกุหลาบขึ้น โดยเริ่มขึ้นที่หน้าอก หลัง ท้อง แล้วกระจายไปที่คอ และ แขน อาจขึ้นไปที่หน้าหรือลงไปที่ขาหรือไม่ก็ได้ ผื่นจะไม่คัน และจะเป็นอยู่นานไม่กี่ชั่วโมงถึง 2วัน แล้วจางหายไปอย่างรวดเร็ว ขณะผื่นขึ้นเด็กจะกลับมาแข็งแรงเป็นปกติทุกอย่าง

                บางรายอาจมีไข้สูงเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีผื่นขึ้นหรืออาจมีผื่นจางๆ ไม่ชัดเจน ทำให้วินิจฉัยไม่ได้แน่ชัด

 

สิ่งตรวจพบ

            ในระยะก่อนผื่นขึ้น จะพบไข้ 39.5-40.5◦ซ.

                อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตที่บริเวณหลังหู ท้ายทอย หนังตาบวมเล็กน้อย เยื่อบุตาแดง

                ในระยะไข้ลดแล้ว จะพบผื่นราบสีแดงขนาด 2-5 มม. ที่ลำตัวและแขน (ส่วนที่หน้าขามักเห็นไม่ชัด) ผื่นบางจุดอาจมีลักษณะนูนเล็กน้อย หรืออาจมีวงสีแดงจางๆอยู่รอบๆผื่นแดง

 

ภาวะแทรกซ้อน

            อาจทำให้เกิดอาการชักจากไข้ (68) นานประมาณ 2-3 นาที พบได้ประมาณร้อยละ 6-15ของผู้ป่วย และนับเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของทารกที่มีอาการชักจากไข้

                อาจมาสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือตับอักเสบแทรกซ้อน

ซึ่งพบได้น้อยมาก

                เด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไขกระดูก

ไม่ทำงาน เป็นต้น

 

การรักษา

            1.ระยะมีไข้สูง ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวและให้ยาพาราเซตามอล(ย1.2) ห้ามให้แอสไพริน(ย1.1) เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม (65.1)

                ถ้ามีอาการชักร่วมด้วย ให้ดูแลแบบชักจากไข้(68)

                2.ระยะผื่นขึ้น ซึ่งไข้ลงแล้วและเด็กท่าทางสบายดี ก็ไม่ต้องให้ยาอะไร เพียงแต่อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจและหายกังวง

                3.การวินิจฉัยจะดูตามอาการแสดงเป็นสำคัญ กรณีที่จำเป็น จะยืนยันด้วยการทดสอบทางน้ำเหลือง เพื่อหารระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสก่อโรค

 

ข้อเสนอแนะ

            1.โรคนี้พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก ถ้าพบเด็กวัยนี้มีไข้สูงหรือตัวร้อนตลอดเวลา โดยท่าทางค่อนข้างสบายดี ควรนึกถึงโรคนี้ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กกลับเป็นปกติดีหลังไข้ลงและมีผื่นขึ้นแล้ว

                2.พ่อแม่หรือผู้ปกครองมักพาเด็กไปพบแพทย์ เมื่อเด็กไข้ลงและมีผื่นขึ้นแล้ว เพราะกังวนว่าจะเป็นหัด โรคนี้แยกจากหัด คือ โรคนี้หลังผื่นขึ้นเด็กจะหายตัวร้อนและสบายดี แต่โรคหัดนั้นขณะผื่นขึ้นจะมีไข้สูงต่อไปอีกหลายวัน นอกจากนี้ผื่นของโรคนี้จะขึ้นที่ลำตัวก่อน และเป็นผื่นเล็กๆอยู่แยกๆกัน ในขณะที่หัดจะขึ้นที่ใบหน้าก่อนแล้วค่อยกระจายลงล้าง และผื่นมักแผ่รวมกันเป็นแผ่นใหญ่

                3.โรคนี้มักหายได้เองภายใน 2-3วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ และจัดว่าไม่มีอันตรายแต่อย่างใดนอกจากอาจทำให้เกิดอาการชักจากไข้ หรืออาการภาวะแทรกซ้อนในเด็กที่ภูมิคุ้มกันต่ำ

                4.เมื่อเป็นแล้วมักไม่เป็นซ้ำ นอกจากบางคนหลังจากหายแล้วอาจมีเชื้อแฝงอยู่ในร่างกาย และต่อมาอาจกำเริบซ้ำได้

 

การป้องกัน

            เมื่อมีเด็กในบ้านเป็นโรคนี้ ควรปฏิบัติดังนี้

                1.แยกผู้ป่วยออกต่างหาก จนพ้นระยะติดเชื้อ (ระยะติดเชื้อต่อตั้งแต่ 2 วันก่อนมีไข้ ถึง 2 วันหลังไข้ลด)

                2.อย่าใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่นอย่าดื่มแก้วน้ำร่วมกับผู้ป่วย

                3.หมั้นล้างมือด้วนน้ำกับสบู่บ่อยๆ เพื่อขจัดเชื้อที่อาจติดที่มืออกมา

 

อ้างอิง

สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 :350 โรคกับการดูแล
                            รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551 

อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)

อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)

chicken

 

  อีสุกอีใส(ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ไข้สุกใส หรือโรคสุกใส)เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก มีอัตราป่วยสูงสุดในช่วงอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ 0-4 ปี  10-14 ปี 14-24ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ ในคนที่อายุตั้งแต่ 34ปีขึ้นไปก็อาจจะพบได้บ้าง ซึ่งคนมักเป็นคนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้หรือไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก้อน

                โรคนี้สามารระบาดแพร่กระจายได้ง่าย พบได้ตลอดทั้งปี มีอุบัติการณ์สูงในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนอาจพบระบาดตามชุมชน โรงเรียน สถานรับเลี่ยงเด็ก

 

สาเหตุ

            เกิดจาดเชื้ออีสุกอีใส-งูสวัด  ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา-ซอสเตอร์ (varicella zoster virus VZV )  หรือ human herpesvirus type 3

                เชื้อนี้จะก่อโรคอีสุขอีใสในผู้ที่ติดเชื้อครั้งแรกหลังจากนั้นเชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้นหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อที่หลบซ่อนนั้นก็จะเจริญขึ้นใหม่ก่อกัดโรคงูสวัด

                เชื้อไวรัสชนิดนี้มีอยู่ในตุ่มน้ำของผู้ที่เป็นอีสุกอีใส หรืองูสวัด ในน้ำลากรหอเสมหะของผู้

ที่เป็นอีสุอีใส

                โรคนี้สามารถติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดนตรง หรือสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ (เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน เป็นต้น) หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อจากตุ่มน้ำ น้ำลายหรือเสมหะ ของผู้ป่วย แล้วเชื้อบนเปื้อนเข้าทางเดินหายใจแบบเดียวกับไข้หวัดนก หรืออีกทางหนึ่งก็โดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองของน้ำลายหรือเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรดหรือออกมาแขวนลอยอยู่ในอากาศ (airborne transmission) แบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่  ไม่ว่าติดต่อโดยทางใด เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจแล้วเข้าสู่กระแสเลือด กระจายไปทั่วร่างกาย รวมทั้งที่ผิวหนัง

ระยะฟักตัว   10-20 วัน (เฉลี่ย14-17วัน)

 

อาการ

            เด็กจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลียเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน

                ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อมๆกันกับวันที่เริมมีไข้ หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นราบสีแดงขนาดเล็กๆก่อน 2-3 ชั่วโมง ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูนและตุ่มน้ำใส

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มม. มีฐานสีแดงอยู่โดนรอบ ตุ่มใสมักมีอาการคันภายใน 24 ชั่วโมงต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำขุ่น ขนาดใหญ่ขึ้นและแตกง่าย แล้วฝ่อหายไปหรือกลายเป็นสะเก็ด

สะเก็ดมักหลุดหายไปภายใน 7-10 วัน(บางรายอาจนาน2-3 สัปดาห์) โดยไม่เป็นแผลเป็น นอกจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจกลายเป็นตุ่มหนองและกลายเป็นแผลเป็น

                ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามลำตัว (หน้าอก แผ่นหลัง) ก่อน แล้วไปที่หน้า หนังศีรษะ และแขนขา มักพบตุ่มกระจัดกระจายอยู่ตามลำตัวมากกว่าบริเวณอื่น

                ผื่นและตุ่มอันใหญ่จะทยอยขึ้นเป็นละลอกๆตามมาเป็นเวลา 3-6 วัน (ส่วนใหญ่ประมาณ

4-5) วัน แล้วก็จะหยุดขึ้น ผื่นที่ขึ้นก่อนจะเป็นตุ่มขุ่น (ตุ่มสุก) และตกสะเก็ดก่อนผื่นที่ขึ้นทีหลัง ดังนั้นมักจะพบว่าในบริเวณเดียวกันจะมีผื่นตุ่มทุกรูปแบบ ทั้งตุ่มสุกและตุ่มใส ชาวบ้านจึงเรียกว่าอีสุกอีใส

                อาจมีผื่นตุ่มในลักษณะเดียวกันขึ้นตามเยื่อบุปาก (เพดานปาก ลิ้น คอหอย) ซึ้งแตกเป็นผื่นตื้นๆทำให้มีอาการเจ็บปาก เจ็บลิ้น เจ็บคอ บางรายอาจเป็นที่เยื่อบุอื่น เยื่อบุตา กล่องเสียง หลอดลม ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เป็นต้น

                ในเด็ก อาการมักจะไม่รุนแรง ไข้มักไม่สูง บางรายอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นตุ่มขึ้น ซึ่งในวันแรกๆอาจวินิจฉัยไม่ได้ชัดเจน หรือคิดว่าเป็นเริม  ผื่นตุ่มในเด็กมักขึ้นไม่มาก และมักหายได้เองภายใน 7-10 วัน

                ในผู้ใหญ่มักจะมีไข้สูง ปวดเมื่อย มีผื่นตุ่มขึ้นจำนวนมาก และมักจะหายช้ากว่าเด็ก

                บางรายอาจติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส โดยไม่มีอาการแสดงก็ได้ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อน

               

สิ่งตรวจพบ

            ในวันแรกๆ จะพบผื่นแดง ตุ่มนูน และตุ่มน้ำใส ขนาดเล็กๆอยู่กระจัดกระจายตามใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง ในวันหลังๆจะพบผื่นและตุ่มหลายลักษณะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน

                อาจพบผื่นตุ่มที่หนังศีรษะ แผลเอยที่เพดานปาก ลิ้น หรือคอหอย

                ในเด็กอาจมีไข้ต่ำ(37.5-38.5◦ซ.)หรือไม่มีไข้

                ในผู้ใหญ่ มักพบว่าไม่มีไข้สูง(39-40◦ซ.)

 

ภาวะแทรกซ้อน

            พบได้น้อยในเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เดิม แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่นผู้ป่วยมะเร็ง  เอดส์ ปลูกถ่ายอวัยวะ ใช้ยารักษามะเร็งหรือสตรีรอยด์ เป็นต้น) จะมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรง

ที่พบได้บ่อยคือการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเนื่องจากไม่ได้รักษาความสะอาดหรือใช้เล็บเกา จนกลายเป็นแผลพุพอง  เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบ  หรือไฟลามทุ่ง ซึ่งอาจเป็นแผลเป็นได้

                ที่ร้ายแรงคือปอดอักเสบ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 20ปี หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มักเกิดจากไวรัสอีสุกอีใส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อสแตฟีโลค็อกคัสแทรกซ้อน อาการมักจะรุนแรงและมีอันตรายสูง

                อาจเกิดสมองอักเสบ ซึ่งพบได้ประมาณ 1 ใน 1000 พบในเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่ มีอัตราตายร้อยละ5-30 นอกนั้นมักจะหายได้เป็นปกติ

                ที่พบได้น้อยแต่รุนแรงอีอย่างก็คือ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เม็ดเลือดออกในตุ่มน้ำใส

หรือเลือดออกตามปากจมูก มัดพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

                หญิงตั้งครรภ์ในระยะไตรมาสแรกหรือไตรมาสที่ 2 ถ้ามีการติดเชื้ออีสุกอีใส อาจทำให้ทารกน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย หรือทารกพิการได้ เรียกว่า กลุ่มอาการอีสุกอีใสแต่กำเนิด (congenital varicella syndrome ) เช่นมีแผลเป็นตามตัว แขนขาลีบ ต้อกระจก ตาเล็ก ศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน เป็นต้น ความพิการในทารกพบได้ประมาณร้อยละ 0.5-6.5 (เฉลี่ยร้อยละ 2) ของทารกที่มีแม่เป็นอีสุกอีใสในช่วงไตรมาสแรก

                นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นอีสุกอีใสภายใน 5 วันก่อนคลอด หรือภายใน 48 ชั่วโมงหลังคลอด ทารกที่เกิดมาอาจเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงซึ่งมีอัตราตายสูง

                ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจพบได้แต่น้อยมาก เช่น โรคเรย์ซินโดรม ข้ออักเสบ ตับอักเสบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จอประสาทตาอักเสบ หน่วยไตอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น

 

การรักษา

            1.แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เช่นพักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้

สูง อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด ถ้าต้มคันให้ใช้ผ้าเย็นหรือน้ำแข็งประคบหรืออาบน้ำเย็นบ่อยๆ(ถ้าไม่ทำให้หนาวสั่น) และอยู่ในที่ๆอากาศเย็นสบาย ถ้าเจ็บปกปากเปื่อยลิ้นเปื่อย ใช้น้ำเกลือเย็นๆกลั้วคอ กินอาหารเหลว หลีลี่ยงอาหารรดเผ็ด เปรียว เคี้ยวยาก

                ผู้ป่วยควรตัดเล็บให้สั้น และหลีกเลี่ยงการแกะและเกาตุ่มที่คัน อาจทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียกลายเป็นแผลเป็นได้

                2.ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้สูงให้พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน(1.1) เพราอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดโรค เรย์ซินโดรม

                ถ้าคันมากให้ยาแก้แพ้ หรือไดอะซีแพม และทายาแก่ผดผื่นคัน

                3.ถ้าตุ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น เป็นแผลพุพอง) ให้ทาด้วยขี้ผึ้งเตตราไซคลีน หรือเจนเชียนไวโอเลต ถ้าเป็นมากให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคร็อกซาซิลลิน

อีริโทรไมซิน หรือ ร็อกซิโทรไมซิน

                4.ถ้ามีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หอบ ชัก ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว เลือดออก เป็นต้น ควรส่งโรงพยาบาลด่วน

                ส่วนผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ  (เช่น เอดส์  มะเร็ง) ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

                5.การให้ยาต้านไวรัส สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และมีสุขภาพแข็งแรง ไม่จำเป็นต้องให้ยากลุ่มนี้

                แพทย์จะพิจารณาให้เฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง  เช่น ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคเรื้อรังทางปอดหรือทางผิวหนัง ได้แก่ผิวหนังอักเสบจากผูมิแพ้หรือผู้ที่ได้รับยาแอสไพลินรินหรือสตรีรอยยด์อยู่ประจำ โดยผู้ใหญ่ให้กินยา อะไซโคลเวียร์ ขนาด 800 มก. วันละ 5 ครั้ง นาน 5 วัน ควรให้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น จะช่วยลดอาการรุนแรงและอาการของโรคลง

                ส่วนผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำร่วมด้วย แพทย์จะใช้อะไซโคลเวียร์ฉีดเข้าหลอดเลือด 

                6.ในการวินิจฉัยโรคนี้ ส่วนใหญ่จะดูจากลักษณะอาการเป็นสำคัญ ในกรณีจำเป็นต้องวินิจฉัยให้แน่ชัดแพทย์จะทำการทดสอบน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสอีสุกอีใส หรือตรวจหาเชื้อจากตุ่ม

 

ข้อแนะนำ

            1.โรคนี้ส่วนใหญ่อาการจะไม่ค่อยรุนแรง และหายได้เอง โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีไข้อาจมีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดภายใน 7-10 วัน ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ อาจเป็นนานและมีความรุนแรงกว่าเด็ก

2.โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก (ยกเว้นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจกำเริบซ้ำๆได้) เมื่อตุ่มยุบหายแล้ว เชื้อมักหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท แต่อาจมีโอการเป็นงูสวัดในภายหลัง

3.ไม่ควรใช้ยาที่เข้าสตีรอยด์ทั้งยากิน(เช่น ยาชุด) แลยาทา เพราะอาจทำให้โรคลุกลาม

4.ควรแกผู้ป่วยออกต่างหากจนพ้นระยะติดต่อ

5.ไม่มีของแสลงสำหรับโรคนี้ ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่ว 2

 

 

 

การป้องกัน

            โรคนี้สามารป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส แนะนำให้ฉีดในเด็กช่วงอายุ 12-18เดือน ส่วนเด็กที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้และไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน จะฉีดช่วงอายุใดก็ได้

                ส่วนผู้ใหญ่แนะนำให้ฉีดเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่นบุคลากรทางแพทย์ ผู้ดูแลในสถานรับเลี่ยงเด็ก ครูอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษา หญิงเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ในอนาคต เป็นต้น ก่อนฉีดวัคซีนอาจต้องเจาะเลือดตรวจว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อนหรือไม่ ถ้าเคยก็ไม่ต้องฉีดวัคซีน

                การฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ฉีดเพียงครั้งเดียว อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปฉีด  2 ครั้ง ห่างกัน 4-8 สัปดาห์

                วัคซีนนี้ห้ามฉีดในผู้ที่กำลังมีไข้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือกินยากดภูมิคุ้มกัน รวมทั้งยาสตรีรอยด์

                วัคซีนไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงเจริญพันธุ์ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือนทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์ แต่ถ้าหากบังเอิญได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ ก็ไม่ต้องกังวล เพราะเท่าที่ผ่านมาไม่มีรายงานว่าทากกได้รับอันตรายจากการฉีดวัคซีนในครรภ์มาดา

                2.ในช่วงที่มีการระบาดหรือมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้ แนะนำให้ปฏิบัติเช่นเดี่ยวกับไข้หวัด

                3.สำหรับผู้ที่สัมผัสโรค ถ้าเป็นเด็กที่แข็งแรงเป็นปกติ  มักไม่แนะนำให้ยาป้องกัน เพราะหารเป็นโรคจะไม่รุนแรงและไม่มีอันตราย ในรายที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส 1 ครั้ง แต่ต้องฉีดภายใน 3 วันหลังสัมผัสโรค อาจช่วยป้องกันโรค หรือลดความรุนแรงของโรคได้

                ส่วนผู้ที่สัมผัสโรคที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ได้แก่หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ(เช่น มะเร็ง เอดส์ เป็นต้น) ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ทารกที่เกิดจากแม่ที่เป็นโรคนี้ภายใน 5 วันก่อนคลอดหรือภายใน48ชั่วโมงหลังคลอด ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือน้ำหนักตัวน้อยตั้งแต่ 1000กรัมลงไป ที่จำเป็นต้องอยู่รักษาในโรงพยาบาลแพทย์จะฉีดสารภูมิต้านทาน หรือให้กินยาอะไซโครเวียร์ วิธีการเหล่านี้อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคถ้ามีการติดเชื้อในเวลาต่อมา

 

อ้างอิง

สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 :350 โรคกับการดูแล
                            รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551

โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)

โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)

 

Hand Foot and Mouth Disease6

 

ชื่อภาษาไทย   โรคมือ-เท้า-ปาก
ชื่อภาษาอังกฤษ   Hand-foot-mouth  disease


             โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง โรคมือ-เท้า-ปาก เป็นไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กซึ่งติดต่อกันง่าย แต่มักไม่รุนแรงและหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงนับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา มีข่าวการระบาดของโรคนี้ซึ่งมีความรุนแรงถึงเสียชีวิตในหมู่เด็กเล็กของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย จึงกลายเป็นโรคฮิตติดอันดับโรคหนึ่ง โรคนี้เป็นคนละชนิดกับโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อยในโคกระบือ และไม่ติดจากสัตว์ที่ป่วย แต่จะติดจากเด็กป่วยที่เล่นคลุกคลีกัน

                 ความชุก  ในบ้านเรามีรายงานผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ ปีละ ๑,๕๐๐-๓,๐๐๐ ราย ส่วนใหญ่พบในเด็กต่ำกว่า ๕ ขวบ บางครั้งระบาดตามสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล 
                 สาเหตุ   เกิดจากการติดเชื้อกลุ่มไวรัสเอนเทอโร (enterovirus) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ค็อกแซกกีเอ (coxsackie A) ค็อกแซกกีบี ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 โรคนี้ส่วนใหญ่ติดต่อจากการกินอาหาร น้ำดื่ม การดูดเลียนิ้วมือ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระ น้ำเหลืองจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ส่วนน้อยที่ติดต่อโดยการสูดเอาฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอชนิด 16  ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ไม่รุนแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ที่พบน้อยแต่รุนแรงคือ ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ซึ่งเป็นต้นเหตุการตายของเด็กเล็กในประเทศต่างๆ ดังกล่าว

                  อาการ  หลังติดเชื้อ ๓-๗ วัน เด็กจะมีอาการไข้ และอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย หลังจากนั้น ๑-๒ วัน จะมีน้ำมูก เจ็บปาก เจ็บคอ ไม่ยอมดูดนม ไม่อยากกินอาหาร เด็กเล็กอาจร้องงอแง เมื่อตรวจดูในปากพบจุดนูนแดงๆ หรือมีน้ำใสอยู่ข้างใต้ ขึ้นตามเยื่อบุปาก  ลิ้นและเหงือก ซึ่งต่อมาจะแตกกลายเป็นแผลตื้นๆ เจ็บมาก ในเวลาไล่เลี่ยกันก็จะมีผื่นขึ้นที่มือและเท้า บางคนขึ้นในฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือแก้มก้น ตอนแรกขึ้นเป็นจุดแดงราบก่อน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำตามมา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓-๗ มิลลิเมตร มักไม่คันไม่เจ็บ ส่วนน้อยอาจมีอาการคัน อาการไข้มักเป็นอยู่ ๓-๔ วันก็ทุเลาไปเอง ส่วนแผลในปากมักจะหายได้เองภายใน ๗ วัน และตุ่มน้ำที่มือและเท้าจะหายได้เองภายใน ๑๐ วัน ในรายที่เป็นรุนแรง (ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย) อาจมีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนรุนแรง ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย
 
                  การแยกโรค ในระยะแรกที่มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูก อาจคิดว่าเป็นเพียงไข้หวัด ถ้าเป็นไข้หวัด ก็จะไม่มีอาการเป็นแผลในปาก และมีตุ่มน้ำตามมือและเท้าตามมา ในระยะที่พบแผลในปาก อาจทำให้คิดว่าเป็น แผลแอฟทัส (aphthous ulcer) ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีไข้ และตุ่มน้ำตามมือและเท้า แผลในปากมักจะหายได้เองภายใน ๑-๒ สัปดาห์ นอกจากนี้ อาการขึ้นตุ่มน้ำใสตามผิวหนัง อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น เริม จะมีตุ่มขึ้นเป็นหย่อมเล็กๆ เพียงหย่อมเดียว ไม่กระจายอยู่หลายแห่ง และมักไม่มีไข้ มักจะแตกเป็นแผลตกสะเก็ด และหายได้เองภายใน ๑ สัปดาห์ อีสุกอีใส จะมีไข้และผื่นขึ้นพร้อมกันใน ๑-๒ วันแรก ผื่นมีลักษณะเป็นจุดแดง ตุ่มนูนและกลายเป็นตุ่มใส  กระจายตามใบหน้า ลำตัว และแขนขา บางครั้งอาจขึ้นในช่องปากร่วมด้วย
                  การวินิจฉัย แพทย์จะวินิจฉัยโรคมือ-เท้า-ปาก จากลักษณะอาการแสดงของโรค น้อยรายที่อาจต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคจากสิ่งคัดหลั่งในคอหอย อุจจาระ หรือน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำบนผิวหนัง
                   การรักษา  เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ และไม่พบว่ามีอาการแทรกซ้อน ก็จะให้การดูแลรักษาตามอาการ  เช่น ให้ยาลดไข้ ยาชาทาแผลในปาก (ถ้าเจ็บมาก) ถ้าตุ่มกลายเป็นหนองหรือพุพองก็จะให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน อีริโทรไมซิน เป็นต้น ถ้ามีภาวะขาดน้ำเนื่องจากกินและดื่มไม่ได้ ก็จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ก็จำเป็นต้องรับเด็กไว้รักษาในโรงพยาบาลหรือส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อไป
                   ภาวะแทรกซ้อน ในรายที่มีอาการคัน อาจเกาจนติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลายเป็นตุ่มหนอง พุพอง ในรายที่เจ็บแผลในปากจนกินอาหาร หรือดื่มน้ำไม่ได้อาจเกิดภาวะขาดน้ำบางรายอาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบแทรกซ้อนซึ่งมักเป็นไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน ๑๐ วัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยแต่ร้ายแรง ได้แก่ สมองอักเสบ (มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก) ภาวะปอดบวมน้ำหรือมีเลือดออกในปอด (มีอาการ หายใจหอบเหนื่อย) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย) โรคเหล่านี้อาจรุนแรงถึงตายได้ มักเกิดในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสเอนเทอโรชนิด 71
                   การดำเนินโรค ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน ๗-๑๐ วัน (เต็มที่ไม่เกิน ๒ สัปดาห์) โดยจะมีไข้อยู่เพียง ๓-๔ วันแรก ส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวตามมา ซึ่งหากรุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
 

                  เท้าเปื่อย ปากเปื่อย ในสัตว์ สู่คน เมื่อเอ่ยถึงโรค " มือ-เท้า-ปาก " แล้ว ก็คงต้องเอ่ยถึงเรื่องโรค " เท้าเปื่อย-ปากเปื่อย " ที่ระบาดในปศุสัตว์และติดต่อมาสู่คนด้วย เพราะหลายๆ คนยังสับสนกับชื้อโรคทั้ง 2 นี้ สำหรับโรค " เท้าเปื่อย-ปากเปื่อย " ที่พบในสัตว์นั้นมีชื่อว่า " Foot-and-Mouth Disease " (จำง่ายๆ ว่าเพราะสัตว์ไม่มีมือนั่นแหละครับ) โรค " เท้าเปื่อย-ปากเปื่อย " นี้เป็นโรคติดเชื้อไวรัส ที่ระบาดรวดเร็วมากในสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แพะ แกะ และหมูโรคนี้สามารถติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้ครับ โดยมีระยะฟักตัวของไวรัสในมนุษย์ ประมาณ 2-10 วัน ผู้ที่ติดเชื้อจะมีไข้ เหนื่อยอ่อน หมดแรง ปากแห้ง และปวดแสบปวดร้อน ในช่องปาก อาจพบตุ่มน้ำเล็กๆ ที่เยื่อบุริมฝีปาก เยื่อบุกระพุ้งแก้ม เหงือกและข้างลิ้นอาจพบตุ่มน้ำที่เพดานแข็ง จมูก และเยื่อบุนัยน์ตาได้ แต่น้อยครับ เมื่อมีตุ่มน้ำขึ้น อาการไข้และเหนื่อยอ่อนจะลดลง ตุ่มน้ำเหล่านี้จะมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 มม. แต่อาจรวมกันเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่ได้ ข้างในตุ่มน้ำมีน้ำใสหรือสีขุ่น ตุ่มน้ำเหล่านี้ จะมีอายุ 2-3 วัน แล้วก็แตกออกเป็นแผลตื้นๆ เมื่อหายจะไม่มีแผลเป็นนอกจากนี้ต่อมน้ำเหลืองใต้คางจะบวม และมีอาการปวดแสบปวดร้อน ในปากร่วมด้วย ต่อมาก็จะมีอาการบวม คันและปวดแสบปวดร้อนของนิ้วมือและนิ้วเท้า แล้วตามมาด้วยการมีตุ่มน้ำบริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้า บริเวณอวัยวะเพศและหัวนม ก็อาจพบได้บ้างครับ หรืออาจพบตุ่มน้ำกระจายทั่วตัวได้แต่น้อยมากโรคเท้าเปื่อยและปากเปื่อยที่ติดจากสัตว์สู่คนนั้น หากเป็นในเด็ก จะมีอาการรุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิตได้ การติดเชื้อนี้จะติดจากการที่คน ไปสัมผัสสัตว์เลี้ยงเหล่านี้หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่เป็นโรคจนถึงการดื่มนมสัตว์ ที่เป็นโรคที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค แนวทางการรักษานั้น คือรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้แก้ปวดและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคนี้ จะแพร่เชื้อเร็วมาก จึงทำให้ต้องฆ่าสัตว์นั้นทั้งฝูงเพื่อระงับการแพร่กระจายของโรค เช่น ประเทศในทวีปยุโรปที่ทำอยู่ในขณะนี้

                   การป้องกัน  ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ควรแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่คนหมู่มาก  ดังนี้
                                         ๑. ควรแยกเด็กที่ป่วย ไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่นประมาณ ๒ สัปดาห์ หรือจนกว่าตุ่มแผลต่างๆ จะหายดี และเวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าปิดปาก อย่ารดใส่กัน
                                         ๒. ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่หลังถ่ายอุจจาระ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม ก่อนเตรียมอาหารและก่อนเปิบอาหาร
                                         ๓. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด  ขวดนม ช้อนชาม เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น เป็นต้น  ร่วมกับคนอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของโรคนี้
                                         ๔. ฝึกเด็กให้มีสุขนิสัยที่ดี รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใส่นิ้วมือหรือของเล่นเข้าปาก
 
                  การดูแลตนเอง โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาจำเพาะ เพียงแต่ให้การดูแลตามอาการ และเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ดังนี้
                                        ๑. ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล เป็นครั้งคราวเวลา มีไข้สูง 
                                        ๒. ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยสังเกตดูว่ามีปัสสาวะออกมากและใส จึงนับว่าได้น้ำพอเพียง
                                        ๓. ในช่วงที่มีอาการเจ็บแผลในปาก ให้เด็กกินอาหารเหลวหรือของน้ำๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด นม น้ำเต้าหู้ น้ำหวาน โดยใช้ช้อนป้อนหรือใช้กระบอกฉีดยา ค่อยๆ หยอดเข้าปาก ไม่ควรให้เด็ก (โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ) ดูดนมหรือน้ำจากขวด เพื่อบรรเทาอาการเจ็บในปาก อาจใช้วิธีให้เด็กอมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ดื่มน้ำหรือนมเย็นๆ กินไอศกรีม  หรือบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ (ผสมเกลือป่นครึ่งช้อนชาในน้ำอุ่น ๑ แก้ว) วันละหลายๆ ครั้ง
                     ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
                                       ๑. ตุ่มน้ำ กลายเป็นตุ่มหนองหรือพุพองจากการเกา ให้แพทย์พิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะรักษา
                                       ๒. มีอาการเจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย 
                                       ๓. มีอาการปวดศีรษะมาก อาเจียนรุนแรง ไม่ค่อยรู้ตัว ชัก แขนขาอ่อนแรง หรือหายใจหอบเหนื่อย ควรส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
                                       ๔. อาการไม่ดีขึ้นภายใน ๑ สัปดาห์
                                       ๕. มีความวิตกกังวล หรือมีความไม่มั่นใจที่จะดูแลรักษาตนเอง
 
อ้างอิง
  1. ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  2. แผน/ผล/การวิเคราะห์จัดซื้อจัดจ้าง
  3. ประกาศราคากลาง
  4. ITA

ประกาศ เรื่อง กระบวนการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานถึงความเกี่ยวข้องกับผู้เสนองานในการจัดซื้อจัดจ้าง

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
ประกาศ เรื่อง กระบวนการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานถึงความเกี่ยวข้องกับผู้เสนองานในการจัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสวี  เรื่อง กระบวนการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานถึงความเกี่ยวข้องกับผู้เสนองานในการจัดซื้อจัดจ้าง

คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ปิด-ปลด และพยานประกาศเผยแพร่ข่าวสารจัดซื้อจัดจ้าง

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ปิด-ปลด และพยานประกาศเผยแพร่ข่าวสารจัดซื้อจัดจ้าง

คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ปิด-ปลด และพยานประกาศเผยแพร่ข่าวสารการจัดวื้อจัดจ้าง

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1) เดือน ต.ค.-พ.ย.60

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1) เดือน ต.ค.-พ.ย.60

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1)

บันทึกข้อความ (EB2.1)

วันอาทิตย์, 24 มีนาคม 2562
บันทึกข้อความ (EB2.1)

แบบฟอร์มเผยแพร่ สขร.1

วันพฤหัสบดี, 21 มีนาคม 2562
แบบฟอร์มเผยแพร่ สขร.1

รายงานแบบ สขร.1

วันพฤหัสบดี, 21 มีนาคม 2562
รายงานแบบ สขร.1

รายงานผลการวิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้าง ปีงบประมาณ 2560

วันพุธ, 20 ธันวาคม 2560
รายงานผลการวิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้าง ปีงบประมาณ 2560

รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560

แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2561

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2561

แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2561

แผนปฏบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
แผนปฏบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

แผนปฏบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561  

EB 2

วันอาทิตย์, 11 พฤศจิกายน 2561

EB2  หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการดำเนินการเพื่อส่งเสริม ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง   1) บันทึกข้อความ ลงนามคำสั่ง/ข้อสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำ เผยแพร่บนเว็บไซต์      ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น คลิ๊ก 2) ข้อสั่งการอย่างเป็นทางการ ที่มีลักษณะเป็นคำสั่ง/ประกาศ ลงนาม โดยผู้บริหารสูงสุดของ     หน่วยงาน หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบอำนาจ คลิ๊ก 3) กรอบแนวทางการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ต้อง     ประกอบด้วย วิธีการ ขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการ...

เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจ าปีพ.ศ. 2560

วันพฤหัสบดี, 15 มีนาคม 2561
เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจ าปีพ.ศ. 2560

เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจ าปีพ.ศ. 2560

next
prev
  1. ข่าวสาร IT
  2. โปรแกรม JHCIS
  3. โปแกรม HDC
  4. โปรแกรมอื่นๆ

หมดปัญหา SMS ขยะหลอกเสียเงินฟรี!

06 กันยายน 2560
 หมดปัญหา SMS ขยะหลอกเสียเงินฟรี!

หมดปัญหา SMS ขยะหลอกเสียเงินฟรี!   เชื่อ ว่าเกือบทุกคนต้องเคยหงุดหงิดใจกับปัญหา SMS เป็นแน่ ที่ทั้งมึนและงงว่าเราไปสมัครรับข่าวสารไว้ตั้งแต่ตอนไหน แต่ส่งมาหาแบบถี่ยิบ แถมเผลอกดแบบงงๆ ละก็ เผลอสมัครอะไรไม่รู้ไปเฉยเลย แถมยังเสียเงินฟรีอีกต่างหากวันนี้เรามีแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้มาฝากค่ะ กับการเปิด...

แชทไปดูวีดีโอไปบนแอป LINE ได้แล้วด้วย compact video

06 กันยายน 2560
แชทไปดูวีดีโอไปบนแอป LINE ได้แล้วด้วย compact video

แชทไปดูวีดีโอไปบนแอป LINE ได้แล้วด้วย compact video     ข่าวดีสำหรับคนชอบดูวีดีโอ เพราะนับจากนี้ LINE มีอัปเดตใหม่ให้สามารถชมวีดีโอไปแชทไปได้แล้ว ด้วยป๊อปอัพวีดีโอบน LINE ( LINE COMPACT VIDEO MODE ) ที่ให้คุณได้ย่อวีดีโอเป็นวีดีโอขนาดเล็กบนจอสมาร์ทโฟนให้คุณสามารถแชทไป ชมวีดีโอไปไ...

แนะนำบริการ Cloud Server จาก CS LOXINFO เริ่ม 900 บาทก็รับส่งข้อมูลไม่จำกัด!

06 กันยายน 2560
แนะนำบริการ Cloud Server จาก CS LOXINFO เริ่ม 900 บาทก็รับส่งข้อมูลไม่จำกัด!

แนะนำบริการ Cloud Server จาก CS LOXINFO เริ่ม 900 บาทก็รับส่งข้อมูลไม่จำกัด!    สำหรับคนที่ต้องการบริการเซิร์ฟเวอร์ปัจจุบันก็มีทางเลือกให้ใช้บริการหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสมนะครับ อย่างการซื้อเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องมาตั้งเอง ก็เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมงบไม่ให้บานปลาย มีปริมาณการใช้งาน...

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

next
prev
  1. โรคและภัยสุขภาพ
  2. อนามัยแม่และเด็ก
  3. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)

06 กันยายน 2560
โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)

โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)     ชื่อภาษาไทย   โรคมือ-เท้า-ปากชื่อภาษาอังกฤษ   Hand-foot-mouth&nb...

อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)

06 กันยายน 2560
อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)

อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)     อีสุกอีใส(ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ไข้สุกใส หรือโรคสุกใส)เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก มีอัตราป่วยสูงสุดใน...

ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )

06 กันยายน 2560
ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )

ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )     ไข้กุหลาบในทารก หรือ หัดดอกกุหลาบ (ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ rose...

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

06 กันยายน 2560
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)   หลอดลมอักเสบ  หมายถึง  การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม  ทำให้ต่อมเมือก  (mucous&...

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

next
prev