Login Form

28082733
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
19056
34875
53931
27883067
1216981
1091540
28082733

Your IP: 13.58.207.196
2024-11-25 11:28

ไอบูโปรเฟน(Ibuprofen)

ไอบูโปรเฟน(Ibuprofen)

0028

 

ใช้แก้อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ข้อเสื่อม , โรคปวดข้อรูมาตอยด์ , ข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง, 
เกาต์ ลดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ เช่น ข้อเคล็ด ข้อแพลง , เส้นเอ็นอักเสบ เป็นต้น ลดไข้ แก้ปวด ป้องกัน และบรรเทาอาการปวดประจำเดือน 

กลุ่มยา

ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาต่อไปนี้

ชื่อทางการค้า

ยานี้มีชื่อทางการค้าต่อไปนี้
Ambufen (แอมบูเฟน), Anbifen suspension (แอนไบเฟน ซัสเปนชั่น), Anufen (อะนูเฟน), Aprofen (อะโปรเฟน), Aprofen paediatric suspension (อโปรเฟน), Borafen (โบราเฟน), Borakid (โบราคิด), Brufen (บรูเฟน), BrufeninBrugin (บรูยิ่น),Bruprin syrup (บูพริน ไซรัป), Bruprin (บูพริน), Brusil syrup (บรูซิล ซีรัพ), Buflex (บูเฟล็กซ์), Buflex tab (บูเฟล็กซ์), Bumed(บูเมด), Bunofen suspBunofen tabCefen film-coated tabCefen Junior (ซีเฟน จูเนียร์), Cenbufen film-coated tab,Coprofen (โคโปรเฟน), Coprofen paediatric suspension (โคโปรเฟน ซัสเปนชั่น สำหรับเด็ก), Eufen suspension (ยูเฟน ยาน้ำแขวนตะกอน), Duran suspDuran (ดูแรน), Eufen tab (ยูเฟน), FafenFafen Paed suspGesica (เจสิก้า), G-Fen syr (จี - เฟน), G-Fen tab (จี - เฟน), Gofen 400 capGreatofen (suspension) (เกร๊ทโตเฟ่น (ซัสเพนชั่น)), Greatofen tab (เกร๊ทโตเฟ่น),Heidi film-coated tab (เฮดี), Heidi suspension (เฮดี), I Fen F tabI Fen syrup (ไอเฟน ไซรัป), Ibrofen film-coated tab (ไอโบรเฟน), Ibrofen syrup (ไอโบรเฟน ไซรัป), Ibufac susp (ไอบูแฟค), Ibufac tab (ไอบูแฟค), Ibufex Paediatric suspension(ไอบูเฟ็กซ์ สำหรับเด็ก), Ibugan film-coated tab (อัยบูแกน), Ibukids (ไอบูคิดส์), Ibulan 200 film-coated tab (ไอบูแลน), Ibulan 400 (ไอบูแลน-400), Ibulan syrup (ไอบูแลน ชนิดน้ำเชื่อม), Ibulium film-coated tab (ไอบูเลียม), Ibuman-100 suspension (ไอบูแมน-100 ยาน้ำแขวนตะกอน), Ibuman tab (ไอบูแมน), Ibumax film-coated tab (ไอบูแมกซ์), Ibupac suspension (ไอบูแพค ซัสเพนชั่น), Ibupac tab (ไอบูแพค), Ibuprofen Community Pharm film-coated tabIbuprofen YSPIndustries tabI-Profen suspI-Profen tabJunimol (จูนิมอล), Mano-Bruzone (มาโน-บรูโซน), Nurofen (นูโรเฟน), Nurofen For Children (นูโรเฟน สำหรับเด็ก), P-Fen tab (พี-เฟ็น), P-Fen Suspension (พี-เฟ็น ซัสเพ็นชั่น), Pippen film-coated tab (พิพเพ่น), Probufen 400 tab (โปรบูเฟน), Profen K.B. tabProfeno film-coated tab (โปรเฟโน่), Rabufen tabRheumanox (รูมาน็อกซ์), Schufen film-coated tab (ชูเฟน), Schufen (ชูเฟน), Sinprofen susp (ซินโปรเฟน), Sinprofen tab (ซินโปรเฟน), Skelan IB tablet (สเคแลน ไอบี ชนิดเม็ด), Spedifen tabSuphen (ซูเฟ็น), Suphen tab (ซูเฟ็น), Tofen (โทเฟน), Tofen tab (โทเฟน), Trofen syrup (ยาน้ำโทรเฟน), Trofen tab (โทรเฟน)
 

คำอธิบายพอสังเขป

ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือเรียกว่า NSAIDs (เอ็น-เสด) ใช้ในการบรรเทาอาการบางอาการที่มีสาเหตุมาจากข้ออักเสบ (ข้ออักเสบรูมาตอยด์) การอักเสบ บวม ตึง และเจ็บข้อ อย่างไรก็ตามยานี้ไม่ได้ใช้รักษาข้ออักเสบเพียงแค่ช่วยบรรเทาอาการของท่านให้ดีขึ้นเท่านั้น
ยานี้ใช้ในการบรรเทาอาการปวดของสภาวะต่างๆ เช่น
  • เกาต์กำเริบ
  • การอักเสบของถุงเล็ก ๆ ที่บรรจุน้ำไขข้อ (bursitis)
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
  • อาการตึง เคล็ดขัดยอก
  • ปวดประจำเดือน (menstrual cramps)
  • ใช้สำหรับลดไข้
  • ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) ใช้ในการรักษาสภาวะต่างๆ ตามแพทย์สั่ง
  • ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) เหล่านี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือใช้ในปริมาณมาก
อาการข้างเคียงบางอย่างทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวหรืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากท่านจะใช้ยานี้นานกว่า 1-2 เดือน หรือใช้ในปริมาณมากๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อจะได้ทราบถึงการปฏิบัติตัวที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงนั้นได้

ก่อนการใช้ยา

การแพ้ยา

โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใดๆ หรือมีประวัติการแพ้ยาไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) หรือกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ตัวอื่น หรือส่วนประกอบใด ๆ ในยานี้ หรือ ยาต่อไปนี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่นๆ เช่น อาหาร สารกันเสียหรือสี เป็นต้น
  • แอสไพริน (aspirin) หรืออนุพันธ์ของซาลิซิเลต (salicylates)
  • คีโทโรแลก (ketorolac)
  • ออกซี่เฟนบิวทาโซน (oxyphenbutazone)
  • ซูโพรเฟน(suprofen)
  • โซมิพีแรค (zomepirac)

อาหารและเครื่องดื่มที่ต้องระวัง

โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ (low-salt) หรือน้ำตาลต่ำ เนื่องจากยาบางประเภทอาจมีส่วนประกอบของโซเดียมและน้ำตาล

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1

ABCDX
รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'B' สำหรับสตรีมีครรภ์
จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาไม่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีรายงานการศึกษาในมนุษย์หรือ จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายามีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่พบผลดังกล่าวจากการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้น ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้ค่อนข้างปลอดภัย

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

ABCDX
รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'B' สำหรับสตรีมีครรภ์
จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาไม่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีรายงานการศึกษาในมนุษย์หรือ จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายามีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่พบผลดังกล่าวจากการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้น ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้ค่อนข้างปลอดภัย

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3

ABCDX
รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'D' สำหรับสตรีมีครรภ์
ยามีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาจใช้ยานี้ได้ หากพิจารณาแล้วว่าประโยชน์จากการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เว้นแต่แพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องใช้โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดเพราะยังไม่มีการศึกษาการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในสตรีมีครรภ์ อย่างไรก็ตามอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับหัวใจหรือความดันโลหิตของตัวอ่อนในครรภ์หรือทารกแรกคลอดได้หากรับประทานยาเหล่านี้เป็นประจำใน 2-3 เดือนสุดท้ายของการมีครรภ์
การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า หากรับประทานยาเหล่านี้ใน 2-3 เดือนสุดท้ายของการมีครรภ์ อาจทำให้การมีครรภ์นานขึ้น, ระยะเวลาของการคลอดนานขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการคลอด
หากท่านกำลังมีครรภ์ ห้ามรับประทานไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) ทำให้การสร้างกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงผิดปกติในกระต่ายแต่ไม่มีผลในหนู
แม้ว่ายาส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลอง แต่ยาเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ เมื่อให้ยาเหล่านี้ปริมาณมากจะทำให้สัตว์ทดลองที่มีครรภ์เกิดอาการป่วย

กำลังให้นมบุตร

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมได้หรือไม่

เด็ก

มีการทดลองใช้ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนไม่พบอาการข้างเคียงที่ต่างจากการใช้ยาในผู้ใหญ่

ผู้สูงอายุ

อาการข้างเคียงบางอย่างเช่น สับสน , หน้าบวม แขนหรือขาบวม , ปริมาณปัสสาวะลดลง อาจเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุซึ่งไวต่อฤทธิ์ของยามากกว่าในวัยอื่นๆ ดังนั้นหากยาส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ผู้สูงอายุอาจรู้สึกไม่สบายตัวได้มากกว่าวัยอื่นๆ

ยาอื่นที่ใช้อยู่

ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น เมื่อท่านต้องการจะรับประทานไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) ท่านต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังใช้ยาต่อไปนี้อยู่
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants)
  • เซฟาแมนโดล (cefamandole)
  • เซโฟเพอราโซน (cefoperazone)
  • เซโฟทีแทน (cefotetan)
  • เฮพาริน (heparin)
  • พลิคามัยซัน (plicamycin)
  • กรดวาลโพรอิก (valproic acid) โอกาสการเกิดเลือดออกเพิ่มขึ้น
  • แอสไพริน (aspirin) โอกาสในเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงจะเพิ่มขึ้นหากใช้แอสไพรินร่วมกับไอบิวโพรเฟน (ibuprofen)
  • ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin)
  • อีน็อกซาซิน (enoxacin)
  • อิทราโคนาโซล (itraconazole)
  • คีโทโคนาโซล (ketoconazole)
  • โลมีฟลอกซาซิน (lomefloxacin)
  • นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin)
  • โอฟลอกซาซิน (ofloxacin)
  • ไซโคลสพอริน (cyclosporine)
  • ดิจิทัลลิส ไกลโคไซดิ์ (digitalis glycosides)
  • ลิเทียม (lithium)
  • เมโทเทรกเซต (methotrexate)
  • ฟีนีตอยน์ (phenytoin) อาจทำให้ระดับยาทั้งสองตัวในเลือดสูงขึ้น
  • โพรเบนีซิด (probenecid) ทำให้ระดับไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) สูงขึ้นและโอกาสในการเกิดอาการข้างเคียงจะเพิ่มขึ้น

ภาวะโรคร่วม

ปัญหาความเจ็บป่วยอื่นที่ท่านเป็นอยู่อาจส่งผลต่อการใช้ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) ท่านควรแจ้งแพทย์หากท่านมีสภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น
  • ติดแอลกอฮอล์
  • ปัญหาเลือดออก
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis), โรคโครห์น (Crohn’s disease), ไดเวอร์ติคูลัมอักเสบ (diverticulitis) , แผลในกระเพาะอาหาร, ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • เบาหวาน
  • ริดสีดวงทวาร
  • ตับอักเสบหรือโรคตับอื่นๆ
  • โรคไต
  • ระคายเคืองทวารหนักหรือมีเลือดออกจากทวารหนัก
  • กลุ่มอาการของโรคผิวหนังลักษณะผื่นลูปุสทั่วร่างกาย (systemic lupus eythematous-SLE)
  • สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่มาก่อน จะเพิ่มโอกาสในการเกิดอาการข้างเคียง
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคหอบหืด
  • โรคลมชัก
  • ของเหลวคั่ง (เท้า ขา บวม)
  • โรคหัวใจ
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • นิ่วในไตหรือเคยมีนิ่วในไต
  • จำนวนเกล็ดเลือดต่ำ
  • จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • มีปัญหาทางจิต
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หลายข้อ
  • กลุ่มอาการฟอร์ฟิเรีย
  • หลอดเลือดแดงที่สมองส่วน temporal อักเสบ (temporal arteritis) ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) จะทำให้อาการของโรคนี้รุนแรงขึ้น
  • มีแผลหรือฝ้าขาวในปาก อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงอาการข้างเคียงจากการใช้ยาที่รุนแรง โปรดแจ้งแพทย์หากท่านมีอาการเหล่านี้

ขนาดและวิธีใช้
ผู้ใหญ่ ครั้งละ 200-400 มก. วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร (ถ้าเป็นไม่รุนแรง อาจเพิ่มขนาดได้ แต่สูงสุดไม่ควรเกิน
วันละ 2400 มก.)
เด็ก วันละ 20 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง (เด็กน้ำหนักน้อยกว่า 30 กก. สูงสุดไม่เกินวันละ
500 มก.)
ควรกินพร้อมอาหาร นม หรือ ยาลดกรด

การใช้ที่ถูกต้อง

สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาในรูปแบบยาเม็ด ยาเม็ดที่มีลักษณะคล้ายแคปซูล แคปซูลหรือในรูปของเหลว
รับประทานยาพร้อมน้ำประมาณ 240 มิลลิลิตร ห้ามนอนประมาณ 15–30 นาทีหลังรับประทานยา เพื่อป้องกันการระคายเคืองทางเดินอาหาร
ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือยาลดกรดเพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หากท่านรับประทานยารูปแบบปลดปล่อยตัวยาในลำไส้เล็ก (enteric-coated) ท่านไม่จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมกับอาหารหรือยาลดกรด เนื่องจากยารูปแบบปลดปล่อยตัวยาในลำไส้เล็ก (enteric-coated) จะช่วยป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหารจากตัวยาอยู่
หากท่านต้องการรับประทานยานี้ร่วมกับยาลดกรด ควรเลือกยาลดกรดที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมและอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์หรือใช้ยาลดกรดตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรผสมยาในรูปแบบของเหลวของไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) เข้ากับยาลดกรด เนื่องจากทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ หากท่านมีอาการไม่สบายท้อง (อาหารไม่ย่อย, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องร่วง) อย่างต่อเนื่องหรือสงสัยว่าควรรับประทานยาอย่างไร ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์
ยาบางประเภทต้องกลืนทั้งเม็ด ห้ามบด เคี้ยวหรือหักแบ่ง ยาในรูปแบบแคปซูลห้ามแกะแคปซูลก่อนการรับประทานยา รวมถึงยาในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ที่ลำไส้เล็ก (enteric-coated), ยาเม็ดหรือยาแคปซูลที่ออกฤทธิ์เนิ่น (extended-release) หากท่านไม่แน่ใจว่ายาที่ท่านกำลังรับประทานเป็นรูปแบบใดควรสอบถามจากเภสัชกร
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) โดยไม่มีใบสั่งแพทย์
ยานี้จะมีเอกสารกำกับยาแนบมาด้วย ควรอ่านรายละเอียดการใช้ยาอย่างถี่ถ้วน หากท่านมีข้อสงสัยควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์
เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้ยานี้ ห้ามรับประทานยานี้เกิดขนาดและห้ามรับประทานยานี้บ่อยจนเกินไป และห้ามรับประทานยานี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่าที่แพทย์สั่ง การรับประทานยานี้มากจนเกินไปอาจทำให้โอกาสการเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
การรับประทานยานี้เพื่อบรรเทาอาการข้ออักเสบรุนแรงหรือเป็นมานาน จำเป็นต้องรับประทานยาเป็นประจำตามแพทย์สั่ง ยานี้จะทำให้อาการดีขึ้นเมื่อใช้ยาไปประมาณ 1 สัปดาห์แต่ในบางรายอาจต้องใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้นจึงมีอาการดีขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้ยาเป็นเวลาหลายสัปดาห์จึงมีอาการดีขึ้น

ขนาดยา

ขนาดของยานี้อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ เภสัชกร หรือ ตามที่ระบุไว้บนฉลากยา
จำนวนของแคปซูลหรือยาเม็ดหรือจำนวนช้อนชาของยาน้ำแขวนตะกอนที่รับประทานหรือจำนวนยาเหน็บขึ้นกับความแรงของยาจำนวนครั้งของการใช้ยาในแต่ละวัน, ระยะห่างของการรับประทานยาในแต่ละครั้งและระยะเวลาที่ท่านใช้ยาขึ้นอยู่ว่าท่านกำลังรับประทานยานี้ในรูปแบบออกฤทธิ์นานหรือรูปแบบออกฤทธิ์สั้นและกับสภาวะของท่านที่ท่านต้องใช้ยานี้
ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจำเป็นต้องใช้ยาทั้งขณะมีอาการและไม่มีอาการของข้ออักเสบ ดังนั้นขนาดยาอาจต้องเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับอาการของท่าน

เมื่อลืมใช้ยา

หากแพทย์สั่งให้ท่านรับประทานยานี้แล้วท่านลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้มื้อต่อไปให้ข้ามมื้อที่ลืมและรับประทานยาต่อในมื้อถัดไปในขนาดยาปกติ (สำหรับยาที่ออกฤทธิ์นานหรือออกฤทธิ์เนิ่นที่รับประทานวันละ 1–2 ครั้ง หากมื้อที่ลืมอยู่ภายใน 1–2 ชั่วโมงของมื้อนั้นให้รับประทานยาทันที แต่ถ้าเกิน 1–2 ชั่วโมงแล้วให้ข้ามมื้อนั้นไปแล้วรับประทานยาตามปกติ) ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

การเก็บรักษา

  • เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บให้ห่างจากความร้อนและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ห้ามเก็บยาไว้ในห้องน้ำ ใกล้อ่างล้างมือหรือที่ชื้น เนื่องจากความร้อนหรือความชื้นอาจเป็นสาเหตุให้ยาเสื่อมคุณภาพ
  • ห้ามเก็บยารูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนในตู้เย็น
  • ทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ

ข้อควรระวัง

หากท่านจะใช้ยานี้เป็นเวลานานสำหรับบรรเทาอาการข้ออักเสบ ท่านควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา การตรวจบางอย่างมีความจำเป็นมากเนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง รวมถึงแผลในกระเพาะอาหาร , เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือปัญหาเกี่ยวกับเลือด ซึ่งอาจเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ทราบคำเตือนนี้มาก่อน
การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในขณะที่ทำการรักษาด้วยการใช้ยานี้อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
หากท่านดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 3 แก้ว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) 2 ชนิดหรือมากกว่า 2 ชนิดร่วมกันอาจทำให้โอกาสการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น การใช้ยาพาราเซทามอล (paracetamol), แอสไพริน (aspirin) หรืออนุพันธ์ซาลิซิเลต (salicylates) หรือคีโตโรแล็ค (ketorolac) ในขณะที่ใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อาจทำให้โอกาสในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เพิ่มขิ้น ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับจำนวนยาที่รับประทานในแต่ละวันและขึ้นกับระยะเวลาที่ประทานยาร่วมกัน หากแพทย์ให้ท่านรับประทานยานี้ร่วมกันเป็นประจำ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ห้ามรับประทานพาราเซทามอล (paracetamol) หรือแอสไพริน (aspirin) หรืออนุพันธ์ของซาลิซิเลต (salicylates) ร่วมกับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มากกว่า 2-3 วัน และห้ามรับประทานร่วมกับคีโทโรแลก (ketorolac) ในขณะที่ท่านกำลังรับประทานยานี้ยกเว้นแพทย์สั่งและพบแพทย์ตามนัด
ก่อนทำการผ่าตัดใดๆ (รวมทั้งการผ่าตัดทางทันตกรรม) โปรดแจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ว่าท่านกำลังรับประทานยานี้อยู่ ถ้าเป็นไปได้ควรบอกตอนที่กำลังวางแผนผ่าตัด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) บางตัวทำให้โอกาสในการเกิดเลือดออกในระหว่างและหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้น บางครั้งอาจจำเป็นต้องหยุดรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ชั่วคราวหรือเปลี่ยนไปใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ตัวอื่นที่ทำให้เกิดเลือดออกน้อยกว่า
ยานี้อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายรู้สึกสับสน, หาวนอน , รู้สึกหวิวๆ , กระปี้กระเป่าน้อยกว่าปกติ บางครั้งยาอาจทำให้เกิดอาการตาพร่าหรือปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นในผู้ป่วยบางราย ดังนั้นควรตรวจสอบตัวเองให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีอาการเหล่านี้จากยา ก่อนที่จะขับรถยนต์หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย หากท่านมีอาการเหล่านี้และรู้สึกว่ารบกวนกิจวัตรประจำวันของท่าน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) อาจไวต่อแสงมากกว่าปกติ การสัมผัสแสงแดดเพียงไม่นานก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผิวหนังไหม้เกรียมผิดปกติได้, เกิดถุงน้ำใต้ผิวหนัง, เกิดผื่น, แดง ,คัน ,หรือสีซีดจางลงได้ หรืออาจทำให้การมองเห็นผิดปกติไปเมื่อเริ่มใช้ยานี้
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงโดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00-15.00
  • ควรสวมเสื้อผ้าปกปิดผิวหนังเพื่อป้องกันแสงแดด รวมทั้งใส่หมวกกันแดดหรือแว่นกันแดด ทาครีมกันแดดซึ่งมีค่า SPF อย่างน้อย 15 บางรายอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงกว่านั้นโดยเฉพาะรายที่มีผิวบอบบาง หากท่านมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • ห้ามใช้หลอดไฟแบบแสงอุลตร้าไวโอเลตหรือการทำให้สีผิวเข้มขึ้น
  • หากท่านเกิดผลต่างๆ ที่เกิดจากแสงแดด ควรไปพบแพทย์
อาการข้างเคียงที่รุนแรง รวมถึงการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างใช้ยานี้ บางครั้งอาการข้างเคียงที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นโดยที่ท่านไม่ได้รับการเตือนมาก่อน อาการแสดงที่เกิดขึ้นบ่อยที่สามารถเตือนว่าท่านอาจได้รับอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้แก่ การปวดท้องหรือปวดเกร็งท้องมากๆ , เจ็บท้องหรือปวดแสบปวดร้อนในท้อง , อุจจาระสีดำเหมือนน้ำมันดิน (ทาร์), คลื่นไส้รุนแรงหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน, แสบยอดอก, อาหารไม่ย่อย, หรืออาเจียนมีเลือดปนหรือมีสีคล้ายกาแฟ ควรหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที หากท่านมีอาการดังกล่าว
ควรพบแพทย์ทันที หากท่านมีอาการหนาวสั่น, มีไข้, ปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อหรือมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเกิดเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนหรือเกิดพร้อมกับมีผื่นที่ผิวหนังซึ่งพบได้น้อยมาก หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นอาการเตือนที่บ่งบอกถึงปฏิกิริยารุนแรงที่เกิดจากยา
ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) อาจทำให้เกิดการแพ้ทางภูมิคุ้มกันที่รุนแรงได้ที่เรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) ถึงแม้ว่าพบได้น้อยมากแต่ก็อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยาแอสไพริน (aspirin) หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
แอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาการเตือนที่รุนแรงที่สุดของปฏิกิริยานี้คือหายใจเร็วมากและผิดปกติ อ้าปากหายใจหอบ หายใจเข้ามีเสียงหวีด หรือเป็นลม อาการเตือนอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสีผิวของใบหน้า หัวใจหรือชีพจรเต้นเร็วและผิดปกติ ผิวหนังบวมมีลักษณะคล้ายรังผึ้งและหนังตาหรือรอบๆ ตาบวมหรือพอง ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ต้องรีบได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน รีบขอความช่วยเหลือให้นำส่งห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ถ้าทำตามนี้ไม่ได้ห้ามพยายามขับรถด้วยตนเอง แต่ให้รีบเรียกรถพยาบาล นอนลง รักษาตัวเองให้อุ่นและประคองให้เท้าสูงกว่าศีรษะ อยู่ในท่านั้นจนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือ
สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานไอบิวโพรเฟน (ibuprofen) โดยไม่มีใบสั่งยาของแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์, ทันตแพทย์หรือเภสัชกร
  • หากใช้ยาแล้วอาการของท่านไม่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง
  • หากท่านใช้ยานี้เพื่อลดไข้แล้วไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วันหรือลดลงแล้วกลับสูงขึ้นอีก
  • ถ้าบริเวณที่ปวดมีอาการบวมหรือแดง

อาการไม่พึงประสงค์

ยาอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ต้องการ ถึงแม้ว่าอาการข้างเคียงต่อไปนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมด แต่หากเกิดอาการข้างเคียงขึ้นควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ก. ควรหยุดยาและได้รับการช่วยเหลือจากแผนกฉุกเฉินในทันทีหากมีอาการเหล่านี้
พบน้อยมาก
  • เป็นลม, หายใจเร็วหรือผิดปกติ, หัวใจหรือชีพจรเต้นเร็วหรือผิดปกติ, บวมบริเวณใบหน้า (ขนาดใหญ่), เปลือกตา รอบตา ปาก ลิ้นบวม, หายใจสั้น, หายใจลำบาก, หายใจมีเสียงวี๊ด, แน่นหน้าอก
ข. ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้
พบน้อย
  • ปวดท้อง, ปวดเกร็งท้อง, ปวดแสบปวดร้อนในท้อง (อย่างรุนแรง), อุจจาระมีมีเลือดปนหรือมีสีดำคล้ายน้ำมันดิน (ทาร์), คลื่นไส้, แสบยอดอกและหรือมีอาการอาหารไม่ย่อย (รุนแรงและต่อเนื่อง)
  • ชัก, มีไข้และมีหรือไม่มีอาการหนาวสั่น
  • มีจุดแดงคล้ายหัวเข็มหมุดที่ผิวหนัง, เจ็บ ปวดหรือมีจุดสีขาวที่ริมฝีปากหรือในปาก
  • ความดันเลือดสูงขึ้น, เลือดไหลออกจากจมูกโดยไม่ทราบสาเหตุ, มีเลือดออกหรือเกิดจ้ำเลือดที่ผิดปกติ, อาเจียนมีเลือดปนหรือมีสีคล้ายกาแฟ
ค. ควรพบแพทย์ทันที หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น
พบบ่อย
  • มีผื่นที่ผิวหนัง
พบน้อย
  • ปวดกระเพาะปัสสาวะ, ปัสสาวะมีเลือดปนหรือขุ่นหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปวดแสบ หรือปวดเวลาปัสสาวะ ปริมาณปัสสาวะมากขึ้นหรือน้อยลงมากผิดปกติ กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • เลือดไหลจากการถูกมีดบาดหรือรอยถลอกที่นานเกินผิดปกติ, มีเลือดไหลหรือเจ็บฝีปาก
  • ตาพร่าหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น, ปวดตา ระคายเคือง แห้ง แดงและบวม
  • รู้สึกเหมือนร้อนไหม้ภายในลำคอ หน้าอกและกระเพาะอาหาร, กลืนลำบาก, ไอ
  • สับสน, หลงลืม, ซึมเศร้าหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงไป, ประสาทหลอน (มองเห็น ได้ยินหรือรู้สึกถึงสิ่งที่ไม่มีจริงตรงนั้น), ปวดศีรษะ (รุนแรง), ปวดหัวตุบๆ, คอหรือหลังแข็ง
  • การได้ยินลดลงหรือมีความผิดปกติในการได้ยินอื่นๆ ได้ยินเสียงกริ่งหรือเสียงหึ่งๆในหู
  • ผิวหนังมีอาการคันหรือบวมคล้ายรังผึ้ง รวมทั้งความผิดปกติต่างๆเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น มีถุงน้ำ แดง สีเปลี่ยนแปลงไป ตึง ปวดแสบปวดร้อน ซีด หนาตัวหรือมีรอยแผลเป็น
  • ความดันโลหิตสูง, ระคายเคืองลิ้น, อุจจาระสีซีดลง
  • เล็บสีซีดลงหรือเล็บแยก, ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง, มือและเท้าไม่มีความรู้สึก รู้สึกเหมือนเข็มจิ้ม ปวดหรืออ่อนแรง, ปวดหลังด้านล่างและหรือด้านข้าง (รุนแรง), ท้องส่วนบน กระเพาะอาหาร ตึงและหรือบวม, ลิ้นและปากบวม, ต่อมบวมและเจ็บโดยเฉพาะต่อมที่คอ, กระหายน้ำอย่างต่อเนื่อง, พูดลำบาก, น้ำมูกไหลหรือจามโดยไม่มีสาเหตุ
  • เลือดไหลจากช่องคลอดมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้ามากผิดปกติ, ตัวเหลืองตาเหลือง
ง. อาการข้างเคียงอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการข้างเคียงเหล่านี้จะหายไปในระหว่างการรักษาเนื่องจากร่างกายจะปรับตัวเข้ากับยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถ้าอาการข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้นติดต่อกันนานหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของท่าน
พบบ่อย
  • ปวด เกร็งหรือไม่สบายท้องหรือกระเพาะอาหาร (เล็กน้อยถึงปานกลาง), วิงเวียนศีรษะ, ง่วงซึม, รู้สึกหวิวๆ, ปวดศีรษะ (เล็กน้อยถึงปานกลาง), แสบยอดอก, อาหารไม่ย่อย, คลื่นไส้หรืออาเจียน
พบน้อย
  • การรับรสเปลี่ยนไปหรือรู้สึกขมปาก, มีลม แก๊สในกระเพาะอาหาร, ท้องผูก, ไม่อยากอาหาร
  • หัวใจเต้นเร็วหรือแรง, หน้าแดง, รู้สึกเหมือนไม่สบาย, ตาทนแสงไม่ได้, ผิวหนังไวต่อแสง, เหงื่อออกมากขึ้น, ปากแห้ง ระคายเคืองหรือเจ็บ
  • กระวนกระวาย, ควบคุมตัวเองไม่ได้, สั่น, กระตุก, ระคายเคืองทวารหนัก (โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในรูปแบบยาเหน็บทวารหนัก), มีปัญหาในการนอนหลับ
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ, เหนื่อยล้า อ่อนแรงผิดปกติโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย
แม้ว่าอาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมด แต่จะเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่ละตัวมีความคล้ายคลึงกันมาก จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวได้คล้ายกัน
จ. อาการข้างเคียงอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย หากท่านสังเกตเห็นอาการข้างเคียงอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
 
อ้างอิง

ไดโคลฟีแนค(Diclofenac)

ไดโคลฟีแนค(Diclofenac)

diclofenac

ไดโคลฟีแนก (diclofenac) เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือเรียกว่า NSAIDs (เอ็น-เสด) ใช้ในการบรรเทาอาการบางอาการที่มีสาเหตุมาจากข้ออักเสบ (ข้ออักเสบรูมาตอยด์) การอักเสบ บวม ตึง และเจ็บข้อ อย่างไรก็ตามยานี้ไม่ได้ใช้รักษาข้ออักเสบเพียงแค่ช่วยบรรเทาอาการของท่านให้ดีขึ้นเท่านั้น
 

กลุ่มยา

            ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาต่อไปนี้

ชื่อทางการค้า

            ยานี้มีชื่อทางการค้าต่อไปนี้
AmminacArclonac 50 (อาร์คลอแนค 50), Bufenac ForteBufenac (บูฟีแนค), Cataflam 25 (คาทาแฟลม 25), Catanac 50(คาตาแนค 50), Cencenac (เซนซีแนค), Chinclona-50 tabChinclonac-25 tabClofec (โคลเฟค), Covonac (โคโวแนค),Demac 25 (ดีแม็ค 25), D-Fiam enteric-coated tabDiclo SR 100 tabDiclofenac Community Pharm enteric-coated tab,Diclofenac T.O. tabDiclogesic (ไดโคลเจสิค), Diclosian enteric-coated tablets (ไดโคลเชี่ยน เอนเทอริค โค๊ท ชนิดเม็ด),Difelene enteric-coated tabDifenac (ไดฟีแนค), Difeno (ไดฟีโน่), Difensic (ไดเฟนสิก), Dinac (ไดแนค), Dolonil SR 100 tabDosanac 25 (โดซาแนค 25), Fenac (ฟีแนค), Fenacil (ฟีนาซิล), Inflamma-50 (อินเฟลมมา-50), Inflanac tablets (50 mg)Lesflam 50 (เลสแฟรม 50), Manfenac (enteric film coated tablet) (แมนฟีแนค (เม็ดเคลือบฟิล์ม)), N-ZEN Tab (เอ็น - เซ่น แท็บ), Ostaren (ออสตาเรน), Remethan 100R sustained-release tabRemethan enteric-coated tabSefnac (เซฟแนค), SinclonacSubsyde CRUniren (ยูนิเรน), Vasalen (วาสาเลน), Veenac 25 (วีแนค 25), Veenac 50 (วีแนค 50),Vesconac (เวสโกแนค), Volfen (โวลเฟน), VolfenacVolnac (วอลแนค), Volta TMVoltanac (โวลทาแนค), Voltaren,Voltaren sustained-releaseVorenVotamed (โวทาเมด), V-Therlen Patar
 

 

ยานี้ใช้ในการบรรเทาอาการปวดของสภาวะต่างๆ เช่น
  • เกาต์กำเริบ
  • การอักเสบของถุงเล็ก ๆ ที่บรรจุน้ำไขข้อ (bursitis)
  • เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ (tendinitis)
  • อาการตึง เคล็ดขัดยอก
  • ปวดประจำเดือน (menstrual cramps)
  • ไดโคลฟีแนก (diclofenac) ใช้ในการรักษาสภาวะต่างๆ ตามแพทย์สั่ง
  • ไดโคลฟีแนก (diclofenac) อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือใช้ในปริมาณมาก
             อาการไม่พึงประสงค์บางอย่างทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวหรืออาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากท่านจะใช้ยานี้นานกว่า 1-2 เดือน หรือใช้ในปริมาณมากๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อจะได้ทราบถึงการปฏิบัติตัวที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงนั้นได้

ก่อนการใช้ยา

การแพ้ยา

            โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านเคยมีอาการผิดปกติใดๆ หรือมีประวัติการแพ้ยาไดโคลฟีแนก (diclofenac) หรือ กลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ตัวอื่น หรือ ส่วนประกอบใด ๆ ในยานี้ หรือ ยาต่อไปนี้ รวมทั้งการมีประวัติเคยแพ้สารอื่น ๆ เช่น อาหาร สารกันเสียหรือสี เป็นต้น
  • แอสไพริน (aspirin) หรืออนุพันธ์ของซาลิซิเลต (salicylates)
  • คีโทโรแลก (ketorolac)
  • ออกซี่เฟนบิวทาโซน (oxyphenbutazone)
  • ซูโพรเฟน(suprofen)
  • โซมิพีแรค (zomepirac)

อาหารและเครื่องดื่มที่ต้องระวัง

           โปรดแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ (low-salt) หรือน้ำตาลต่ำ เนื่องจากยาบางประเภทอาจมีส่วนประกอบของโซเดียมและน้ำตาล
 

ตั้งครรภ์

รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'B' สำหรับสตรีมีครรภ์
             จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาไม่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีรายงานการศึกษาในมนุษย์หรือ จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายามีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่พบผลดังกล่าวจากการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้น ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้ค่อนข้างปลอดภัย
 

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1

รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'B' สำหรับสตรีมีครรภ์
             จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาไม่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีรายงานการศึกษาในมนุษย์หรือ จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายามีความเสี่ยงในการทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่พบผลดังกล่าวจากการศึกษาในมนุษย์ ดังนั้น ยาที่จัดอยู่ในประเภทนี้สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้ค่อนข้างปลอดภัย
 

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

รายการนี้จัดอยู่ในประเภท 'D' สำหรับสตรีมีครรภ์
            ยามีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาจใช้ยานี้ได้ หากพิจารณาแล้วว่าประโยชน์จากการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
 

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3

            ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เว้นแต่แพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องใช้โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดเพราะยังไม่มีการศึกษาการใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในสตรีมีครรภ์ อย่างไรก็ตามอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับหัวใจหรือความดันโลหิตของตัวอ่อนในครรภ์หรือทารกแรกคลอดได้หากรับประทานยาเหล่านี้เป็นประจำใน 2-3 เดือนสุดท้ายของการมีครรภ์
            การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า หากรับประทานยาเหล่านี้ใน 2-3 เดือนสุดท้ายของการมีครรภ์ อาจทำให้การมีครรภ์นานขึ้น, ระยะเวลาของการคลอดนานขึ้นทำให้เกิดปัญหาในการคลอด
             การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าไดโคลฟีแนก (diclofenac) ทำให้การสร้างกระดูกในสัตว์ทดลองผิดปกติแม้ว่ายาส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อตัวอ่อนในครรภ์ของสัตว์ทดลอง แต่ยาเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนในครรภ์ เมื่อให้ยาเหล่านี้ปริมาณมากจะทำให้สัตว์ทดลองที่มีครรภ์เกิดอาการป่วย
 

กำลังให้นมบุตร

          ไดโคลฟีแนก (diclofenac) สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมได้

เด็ก

           ยังไม่มีข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับการใช้ไดโคลฟีแนก (diclofenac) ในเด็ก

ผู้สูงอายุ

            อาการไม่พึงประสงค์บางอย่างเช่น สับสน , หน้าบวม แขนหรือขาบวม , ปริมาณปัสสาวะลดลง อาจเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุซึ่งไวต่อฤทธิ์ของยามากกว่าในวัยอื่นๆ ดังนั้นหากยาส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ผู้สูงอายุอาจรู้สึกไม่สบายตัวได้มากกว่าวัยอื่นๆ

ยาอื่นที่ใช้อยู่

           ถึงแม้ว่ายาบางอย่างไม่ควรใช้ร่วมกัน ในบางกรณีที่จำเป็นอาจใช้ร่วมกันได้ถึงแม้ว่าอันตรกิริยาอาจเกิดขึ้นก็ตาม โดยแพทย์อาจปรับเปลี่ยนขนาดยาหรืออาจมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น เมื่อท่านต้องการจะรับประทานไดโคลฟีแนก (diclofenac) ท่านต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์หากท่านกำลังใช้ยาต่อไปนี้อยู่
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants)
  • เซฟาแมนโดล (cefamandole)
  • เซโฟเพอราโซน (cefoperazone)
  • เซโฟทีแทน (cefotetan)
  • เฮพาริน (heparin)
  • พลิคามัยซัน (plicamycin)
  • กรดวาลโพรอิก (valproic acid) โอกาสการเกิดเลือดออกเพิ่มขึ้น
  • แอสไพริน (aspirin) โอกาสในเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจะเพิ่มขึ้นหากใช้แอสไพรินร่วมกับไดโคลฟีแนก (diclofenac)
  • ซิโพรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin)
  • อีน็อกซาซิน (enoxacin)
  • อิทราโคนาโซล (itraconazole)
  • คีโทโคนาโซล (ketoconazole)
  • โลมีฟลอกซาซิน (lomefloxacin)
  • นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin)
  • โอฟลอกซาซิน (ofloxacin)
  • ไซโคลสพอริน (cyclosporine)
  • ดิจิทัลลิส ไกลโคไซดิ์ (digitalis glycosides)
  • ลิเทียม (lithium)
  • เมโทเทรกเซต (methotrexate)
  • ฟีนีตอยน์ (phenytoin) อาจทำให้ระดับยาทั้งสองตัวในเลือดสูงขึ้น
  • โพรเบนีซิด (probenecid) ทำให้ระดับไดโคลฟีแนก (diclofenac) สูงขึ้นและโอกาสในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จะเพิ่มขึ้น

ภาวะโรคร่วม

           ปัญหาความเจ็บป่วยอื่นที่ท่านเป็นอยู่อาจส่งผลต่อการใช้ไดโคลฟีแนก (diclofenac) ท่านควรแจ้งแพทย์หากท่านมีสภาวะเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น
  • ติดแอลกอฮอล์
  • ปัญหาเลือดออก
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis), โรคโครห์น (Crohn’s disease), ไดเวอร์ติคูลัมอักเสบ (diverticulitis) , แผลในกระเพาะอาหาร, ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  • เบาหวาน
  • ริดสีดวงทวาร
  • ตับอักเสบหรือโรคตับอื่นๆ
  • โรคไต
  • ระคายเคืองทวารหนักหรือมีเลือดออกจากทวารหนัก
  • กลุ่มอาการของโรคผิวหนังลักษณะผื่นลูปุสทั่วร่างกาย (systemic lupus eythematous-SLE)
  • สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่มาก่อน จะเพิ่มโอกาสในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
  • โรคโลหิตจาง
  • โรคหอบหืด
  • โรคลมชัก
  • ของเหลวคั่ง (เท้า ขา บวม)
  • โรคหัวใจ
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • นิ่วในไตหรือเคยมีนิ่วในไต
  • จำนวนเกล็ดเลือดต่ำ
  • จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • มีปัญหาทางจิต
  • โรคพาร์คินสัน
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หลายข้อ
  • กลุ่มอาการฟอร์ฟิเรีย
  • หลอดเลือดแดงที่สมองส่วน temporal อักเสบ (temporal arteritis) ไดโคลฟีแนก (diclofenac) จะทำให้อาการของโรคนี้รุนแรงขึ้น
  • มีแผลหรือฝ้าขาวในปาก อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่รุนแรง โปรดแจ้งแพทย์หากท่านมีอาการเหล่านี้

การใช้ที่ถูกต้อง

           รับประทานยาพร้อมน้ำประมาณ 240 มิลลิลิตร ห้ามนอนประมาณ 15–30 นาทีหลังรับประทานยา เพื่อป้องกันการระคายเคืองทางเดินอาหาร
           ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือยาลดกรดเพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หากท่านรับประทานยารูปแบบปลดปล่อยตัวยาในลำไส้เล็ก (enteric-coated) ท่านไม่จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมกับอาหารหรือยาลดกรด เนื่องจากยารูปแบบปลดปล่อยตัวยาในลำไส้เล็ก (enteric-coated) จะช่วยป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหารจากตัวยาอยู่
            หากท่านต้องการรับประทานยานี้ร่วมกับยาลดกรด ควรเลือกยาลดกรดที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมและอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์หรือใช้ยาลดกรดตามที่แพทย์สั่ง หากท่านมีอาการไม่สบายท้อง (อาหารไม่ย่อย, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องร่วง) อย่างต่อเนื่องหรือสงสัยว่าควรรับประทานยาอย่างไร ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์
            ยาบางประเภทต้องกลืนทั้งเม็ด ห้ามบด เคี้ยวหรือหักแบ่ง ยาในรูปแบบแคปซูลห้ามแกะแคปซูลก่อนการรับประทานยา รวมถึงยาในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ที่ลำไส้เล็ก (enteric-coated), ยาเม็ดหรือยาแคปซูลที่ออกฤทธิ์เนิ่น (extended-release), ยาเม็ดไดฟลูนิซัล (diflunisal) หากท่านไม่แน่ใจว่ายาที่ท่านกำลังรับประทานเป็นรูปแบบใดควรสอบถามจากเภสัชกร

ขนาดยา

            ขนาดของยานี้อาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ เภสัชกร หรือ ตามที่ระบุไว้บนฉลากยา
             จำนวนของแคปซูลหรือยาเม็ดหรือจำนวนช้อนชาของยาน้ำแขวนตะกอนที่รับประทานหรือจำนวนยาเหน็บขึ้นกับความแรงของยาจำนวนครั้งของการใช้ยาในแต่ละวัน, ระยะห่างของการรับประทานยาในแต่ละครั้งและระยะเวลาที่ท่านใช้ยาขึ้นอยู่ว่าท่านกำลังรับประทานยานี้ในรูปแบบออกฤทธิ์นานหรือรูปแบบออกฤทธิ์สั้นและกับสภาวะของท่านที่ท่านต้องใช้ยานี้
             ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจำเป็นต้องใช้ยาทั้งขณะมีอาการและไม่มีอาการของข้ออักเสบ ดังนั้นขนาดยาอาจต้องเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับอาการของท่าน

เมื่อลืมใช้ยา

             หากแพทย์สั่งให้ท่านรับประทานยานี้แล้วท่านลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้มื้อต่อไปให้ข้ามมื้อที่ลืมและรับประทานยาต่อในมื้อถัดไปในขนาดยาปกติ (สำหรับยาที่ออกฤทธิ์นานหรือออกฤทธิ์เนิ่นที่รับประทานวันละ 1–2 ครั้ง หากมื้อที่ลืมอยู่ภายใน 1–2 ชั่วโมงของมื้อนั้นให้รับประทานยาทันที แต่ถ้าเกิน 1–2 ชั่วโมงแล้วให้ข้ามมื้อนั้นไปแล้วรับประทานยาตามปกติ) ห้ามเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

การเก็บรักษา

  • เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บให้ห่างจากความร้อนและหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ห้ามเก็บยาไว้ในห้องน้ำ ใกล้อ่างล้างมือหรือที่ชื้น เนื่องจากความร้อนหรือความชื้นอาจเป็นสาเหตุให้ยาเสื่อมคุณภาพ
  • ห้ามเก็บยารูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนในตู้เย็น
  • ทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ

ข้อควรระวัง

           หากท่านจะใช้ยานี้เป็นเวลานานสำหรับบรรเทาอาการข้ออักเสบ ท่านควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา การตรวจบางอย่างมีความจำเป็นมากเนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง รวมถึงแผลในกระเพาะอาหาร , เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือปัญหาเกี่ยวกับเลือด ซึ่งอาจเกิดในผู้ป่วยที่ไม่ทราบคำเตือนนี้มาก่อน
การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในขณะที่ทำการรักษาด้วยการใช้ยานี้อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น
           หากท่านดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 3 แก้ว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
           การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) 2 ชนิดหรือมากกว่า 2 ชนิดร่วมกันอาจทำให้โอกาสการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เพิ่มขึ้น การใช้ยาพาราเซทามอล (paracetamol), แอสไพริน (aspirin) หรืออนุพันธ์ซาลิซิเลต (salicylates) หรือคีโตโรแล็ค (ketorolac) ในขณะที่ใช้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อาจทำให้โอกาสในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เพิ่มขิ้น ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับจำนวนยาที่รับประทานในแต่ละวันและขึ้นกับระยะเวลาที่ประทานยาร่วมกัน หากแพทย์ให้ท่านรับประทานยานี้ร่วมกันเป็นประจำ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
             ห้ามรับประทานพาราเซทามอล (paracetamol) หรือแอสไพริน (aspirin) หรืออนุพันธ์ของซาลิซิเลต (salicylates) ร่วมกับไดโคลฟีแนก (diclofenac) มากกว่า 2-3 วัน และห้ามรับประทานร่วมกับคีโทโรแลก (ketorolac) ในขณะที่ท่านกำลังรับประทานยานี้ยกเว้นแพทย์สั่งและพบแพทย์ตามนัด
             ก่อนทำการผ่าตัดใดๆ (รวมทั้งการผ่าตัดทางทันตกรรม) โปรดแจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ว่าท่านกำลังรับประทานยานี้อยู่ ถ้าเป็นไปได้ควรบอกตอนที่กำลังวางแผนผ่าตัด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) บางตัวทำให้โอกาสในการเกิดเลือดออกในระหว่างและหลังผ่าตัดเพิ่มขึ้น บางครั้งอาจจำเป็นต้องหยุดรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ชั่วคราวหรือเปลี่ยนไปใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ตัวอื่นที่ทำให้เกิดเลือดออกน้อยกว่า
             ยานี้อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายรู้สึกสับสน, หาวนอน , รู้สึกหวิวๆ , กระปี้กระเป่าน้อยกว่าปกติ บางครั้งยาอาจทำให้เกิดอาการตาพร่าหรือปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นในผู้ป่วยบางราย ดังนั้นควรตรวจสอบตัวเองให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีอาการเหล่านี้จากยา ก่อนที่จะขับรถยนต์หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย หากท่านมีอาการเหล่านี้และรู้สึกว่ารบกวนกิจวัตรประจำวันของท่าน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
             ผู้ป่วยบางรายที่ใช้ไดโคลฟีแนก (diclofenac) อาจไวต่อแสงมากกว่าปกติ การสัมผัสแสงแดดเพียงไม่นานก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดผิวหนังไหม้เกรียมผิดปกติได้, เกิดถุงน้ำใต้ผิวหนัง, เกิดผื่น, แดง ,คัน ,หรือสีซีดจางลงได้ หรืออาจทำให้การมองเห็นผิดปกติไปเมื่อเริ่มใช้ยานี้
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรงโดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00-15.00
  • ควรสวมเสื้อผ้าปกปิดผิวหนังเพื่อป้องกันแสงแดด รวมทั้งใส่หมวกกันแดดหรือแว่นกันแดด ทาครีมกันแดดซึ่งมีค่า SPF อย่างน้อย 15 บางรายอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงกว่านั้นโดยเฉพาะรายที่มีผิวบอบบาง หากท่านมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • ห้ามใช้หลอดไฟแบบแสงอุลตร้าไวโอเลตหรือการทำให้สีผิวเข้มขึ้น
  • หากท่านเกิดผลต่างๆ ที่เกิดจากแสงแดด ควรไปพบแพทย์
           อาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง รวมถึงการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างใช้ยานี้ บางครั้งอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นโดยที่ท่านไม่ได้รับการเตือนมาก่อน อาการแสดงที่เกิดขึ้นบ่อยที่สามารถเตือนว่าท่านอาจได้รับอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้แก่ การปวดท้องหรือปวดเกร็งท้องมากๆ , เจ็บท้องหรือปวดแสบปวดร้อนในท้อง , อุจจาระสีดำเหมือนน้ำมันดิน (ทาร์), คลื่นไส้รุนแรงหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน, แสบยอดอก, อาหารไม่ย่อย, หรืออาเจียนมีเลือดปนหรือมีสีคล้ายกาแฟ ควรหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที หากท่านมีอาการดังกล่าว
             ควรพบแพทย์ทันที หากท่านมีอาการหนาวสั่น, มีไข้, ปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อหรือมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเกิดเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนหรือเกิดพร้อมกับมีผื่นที่ผิวหนังซึ่งพบได้น้อยมาก หากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นอาการเตือนที่บ่งบอกถึงปฏิกิริยารุนแรงที่เกิดจากยา
             ไดโคลฟีแนก (diclofenac) อาจทำให้เกิดการแพ้ทางภูมิคุ้มกันที่รุนแรงได้ที่เรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) ถึงแม้ว่าพบได้น้อยมากแต่ก็อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยาแอสไพริน (aspirin) หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
               แอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาการเตือนที่รุนแรงที่สุดของปฏิกิริยานี้คือหายใจเร็วมากและผิดปกติ อ้าปากหายใจหอบ หายใจเข้ามีเสียงหวีด หรือเป็นลม อาการเตือนอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสีผิวของใบหน้า หัวใจหรือชีพจรเต้นเร็วและผิดปกติ ผิวหนังบวมมีลักษณะคล้ายรังผึ้งและหนังตาหรือรอบๆ ตาบวมหรือพอง ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ต้องรีบได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน รีบขอความช่วยเหลือให้นำส่งห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ถ้าทำตามนี้ไม่ได้ห้ามพยายามขับรถด้วยตนเอง แต่ให้รีบเรียกรถพยาบาล นอนลง รักษาตัวเองให้อุ่นและประคองให้เท้าสูงกว่าศีรษะ อยู่ในท่านั้นจนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือ

อาการไม่พึงประสงค์

           ยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่ไม่ต้องการ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับผู้ใช้ยาทุกราย แต่หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ก. ควรหยุดยาและได้รับการช่วยเหลือจากแผนกฉุกเฉินในทันทีหากมีอาการเหล่านี้
พบน้อยมาก
  • เป็นลม, หายใจเร็วหรือผิดปกติ, หัวใจหรือชีพจรเต้นเร็วหรือผิดปกติ, บวมคล้ายรังผึ้งบริเวณใบหน้า (ขนาดใหญ่), เปลือกตา รอบตา ปาก ลิ้นบวม, หายใจสั้น, หายใจลำบาก, หายใจมีเสียงวี๊ด, แน่นหน้าอก
ข. ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้
พบน้อย
  • ปวดท้อง, ปวดเกร็งท้อง, ปวดแสบปวดร้อนในท้อง (อย่างรุนแรง), อุจจาระมีมีเลือดปนหรือมีสีดำคล้ายน้ำมันดิน (ทาร์), คลื่นไส้, แสบยอดอกและหรือมีอาการอาหารไม่ย่อย (รุนแรงและต่อเนื่อง)
  • ชัก, มีไข้และมีหรือไม่มีอาการหนาวสั่น
  • มีจุดแดงคล้ายหัวเข็มหมุดที่ผิวหนัง, เจ็บ ปวดหรือมีจุดสีขาวที่ริมฝีปากหรือในปาก
  • ความดันเลือดสูงขึ้น, เลือดไหลออกจากจมูกโดยไม่ทราบสาเหตุ, มีเลือดออกหรือเกิดจ้ำเลือดที่ผิดปกติ, อาเจียนมีเลือดปนหรือมีสีคล้ายกาแฟ
ค. ควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น
พบบ่อย
  • มีผื่นที่ผิวหนัง
พบน้อย
  • ปวดกระเพาะปัสสาวะ, ปัสสาวะมีเลือดปนหรือขุ่นหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะลำบาก ปวดแสบ หรือปวดเวลาปัสสาวะ ปริมาณปัสสาวะมากขึ้นหรือน้อยลงมากผิดปกติ กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • เลือดไหลจากการถูกมีดบาดหรือรอยถลอกที่นานเกินผิดปกติ, มีเลือดไหลหรือเจ็บฝีปาก
  • ตาพร่าหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น, ปวดตา ระคายเคือง แห้ง แดงและบวม
  • รู้สึกเหมือนร้อนไหม้ภายในลำคอ หน้าอกและกระเพาะอาหาร, กลืนลำบาก, ไอ
  • สับสน, หลงลืม, ซึมเศร้าหรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงไป, ประสาทหลอน (มองเห็น ได้ยินหรือรู้สึกถึงสิ่งที่ไม่มีจริงตรงนั้น), ปวดศีรษะ (รุนแรง), ปวดหัวตุบๆ, คอหรือหลังแข็ง
  • การได้ยินลดลงหรือมีความผิดปกติในการได้ยินอื่นๆ ได้ยินเสียงกริ่งหรือเสียงหึ่งๆในหู
  • ผิวหนังมีอาการคันหรือบวมคล้ายรังผึ้ง รวมทั้งความผิดปกติต่างๆเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น มีถุงน้ำ แดง สีเปลี่ยนแปลงไป ตึง ปวดแสบปวดร้อน ซีด หนาตัวหรือมีรอยแผลเป็น
  • ความดันโลหิตสูง, ระคายเคืองลิ้น, อุจจาระสีซีดลง
  • เล็บสีซีดลงหรือเล็บแยก, ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง, มือและเท้าไม่มีความรู้สึก รู้สึกเหมือนเข็มจิ้ม ปวดหรืออ่อนแรง, ปวดหลังด้านล่างและหรือด้านข้าง (รุนแรง), ท้องส่วนบน กระเพาะอาหาร ตึงและหรือบวม, ลิ้นและปากบวม, ต่อมบวมและเจ็บโดยเฉพาะต่อมที่คอ, กระหายน้ำอย่างต่อเนื่อง, พูดลำบาก, น้ำมูกไหลหรือจามโดยไม่มีสาเหตุ
  • เลือดไหลจากช่องคลอดมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้ามากผิดปกติ, ตัวเหลืองตาเหลือง
ง. ผลข้างเคียงอื่นๆ อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่จะหายไปในระหว่างการรักษาซึ่งร่างกายจะปรับตัวเข้ากับยา ควรปรึกษาแพทย์ถ้าผลข้างเคียงเหล่านี้เกิดขึ้นติดต่อกันนานหรือรบกวนท่าน
พบบ่อย
  • ปวด เกร็งหรือไม่สบายท้องหรือกระเพาะอาหาร (เล็กน้อยถึงปานกลาง), วิงเวียนศีรษะ, ง่วงซึม, รู้สึกหวิวๆ, ปวดศีรษะ (เล็กน้อยถึงปานกลาง), แสบยอดอก, อาหารไม่ย่อย, คลื่นไส้หรืออาเจียน
พบน้อย
  • การรับรสเปลี่ยนไปหรือรู้สึกขมปาก, มีลม แก๊สในกระเพาะอาหาร, ท้องผูก, ไม่อยากอาหาร
  • หัวใจเต้นเร็วหรือแรง, หน้าแดง, รู้สึกเหมือนไม่สบาย, ตาทนแสงไม่ได้, ผิวหนังไวต่อแสง, เหงื่อออกมากขึ้น, ปากแห้ง ระคายเคืองหรือเจ็บ
  • กระวนกระวาย, ควบคุมตัวเองไม่ได้, สั่น, กระตุก, ระคายเคืองทวารหนัก (โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในรูปแบบยาเหน็บทวารหนัก), มีปัญหาในการนอนหลับ
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ, เหนื่อยล้า อ่อนแรงผิดปกติโดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย
แม้ว่าอาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นทั้งหมด แต่จะเกิดขึ้นอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่ละตัวมีความคล้ายคลึงกันมาก จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวได้คล้ายกัน
จ. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย หากท่านสังเกตเห็นอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

อ้างอิง

พาราเซตามอล (Paracetamol)

พาราเซตามอล (Paracetamol)

120px Panadol suppositories

 

ยานี้เป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้ แต่ไม่สามารถลดอาการอักเสบจากข้ออักเสบได้ 
พาราเซตามอล (อังกฤษParacetamol (INN/ˌpærəˈsiːtəmɒl, ˌpærəˈsɛtəmɒl/) หรือ อะเซตามีโนเฟน (อังกฤษacetaminophen (USAN/əˌsiːtəˈmɪnɵfɨn/) ทั้งหมดย่อมาจาก para-acetylaminophenol เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์บรรเทาอาการยาแก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้กายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน [1]
โดยทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์[2]) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทำงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียวกับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ พิษของพาราเซตามอลสามารถทำใหแกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งมีการพบแล้วในโลกตะวันตก อาทิในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์[3][4][5][6]
 
ในสมัยโบราณจะใช้เปลือกต้นหลิว (willow) เป็นยาแก้ไข้ (antipyretic) ในขณะนั้นรู้กันว่าสารเคมีในเปลือกหลิว คือ ซาลิซิน (salicins) ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นแอสไพรินได้ และทราบด้วยว่าสารเคมีที่อยู่ในเปลือก ซิงโคน่า (cinchona) ใช้เป็นยารักษามาลาเรียได้ คือ ควินนิน (quinine) และมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ได้ด้วย
ในช่วงทศวรรษ 1880เกิดการขาดแคลนต้น ซิงโคน่า จึงได้มีการหาทางเลือกสำหรับยาลดไข้และได้ค้นพบยาลดไข้ตัวใหม่ ดังนี้
ในขณะที่ ฮาร์มอน นอร์ทรอป มอร์ส (Harmon Northrop Morse) สามารถสังเคราะห์ พาราเซตามอลได้ในปี ค.ศ. 1873 โดยปฏิกิริยารีดักชั่น พารา-ไนโตรฟีนอล (p-nitrophenol) กับ ดีบุกในกรดน้ำส้ม (acetic acid) พาราเซตามอลไม่ได้ถูกใช้เป็นยาเกือบยี่สิบปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1893ได้มีการตรวจพบพาราเซตามอล ในปัสสาวะของผู้ที่ใช้ยาฟีนาซิตินและในปีค.ศ. 1899 พบว่าพาราเซตามอลเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์
ในปี ค.ศ. 1948 เบอร์นาร์ด บรอดี้ และ จูเลียส อะเซลรอด ได้ทดลองใช้ อะซิตานิไลด์ ในโรค เมตทีโมโกบินีเมีย (methemoglobinemia) เขาพบว่าฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของอะซิตานิไลด์ เกิดจากพาราเซตามอลซึ่งเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์ และพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะซิตานิไลด์ มาก ตั้งแต่นั้นมาพาราเซตามอลก็ถูกใช้เป็นยาแก้ไขแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย

กลุ่มยา

ยานี้จัดอยู่ในกลุ่มยาต่อไปนี้

ชื่อทางการค้า

ยานี้มีชื่อทางการค้าต่อไปนี้
Aceta syrup (อาเซตตา ไซรับ), Aceta (อาเซตตา), Algogen syrup (แอลโกเจน (ชนิดน้ำเชื่อม)), Algogen (แอลโกเจน), A-Mol caplets (เอ-มอล ชนิดเม็ด), A-Mol suspension (เอ - มอล ชนิดน้ำแขวนตะกอน), A-Mol syrup (เอ - มอล ไซรัป), Asumol (อาซูมอล), Bakamol (บาคามอล), Calpol 6-12 suspCalpol tabCemol drops syrup (ซีมอล ดรอปไซรัพ), Cemol suspension 6-12 (ซีมอล ซัสเพนชั่น 6-12), Cemol suspension (ซีมอล ซัสเพนชั่น), Cemol (ซีมอล), Cetamol syrup (เซตามอล ไซรัพ),Cetamol (เซตามอล), Cetapol (ซีตาปอล), Cetta Forte (เซตต้า ฟอร์ท), Cetta Syrup (เซตต้า ไซรัป), Children's Tylenol (ไทลินอล สำหรับเด็ก), Codamol tablets (โคดามอล), Cotemp caplet (โคเทม แคปเลท), Cotemp drops (โคเทม ชนิดหยด), Daga(ดาก้า), Denamol 120 (ดีนามอล 120), Denamol 250 (ดีนามอล 250), Depyret syrup drops (ดีไพเร็ท ไซรับ ชนิดหยด),Diamol (ไดอะมอล), Faron Kid (ฟารอน คิด), Faron (ฟารอน), Foramol syrup (ฟอรามอล ไซรัป), Foramol (ฟอรามอล), Kit-F(คิท - เอฟ), Kit-Syrup (คิท ไซรับ), Lotemp Susupension Forte (โลเทมป์ ซัสเพนชั่น ฟอร์ท), M-Aceta tabMymol 325 (มายมอล 325), Mymol B.P.O. (มายมอล บี.พี.โอ.), Mypara (syrup) (มายพารา (ไซรัพ)), Mypara (มายพารา), Nasa Para syr,Nasa tabNewtol (นิวตอล), New-um syrup (นิวอั้มไซรัป), Pamol drops (พามอล ชนิดหยด), Pamol Pediatric tabPanadol,Para - 325 tablet (พารา - 325 ชนิดเม็ด), Para FRX (พารา เอฟอาร์เอ็กซ์), Para Gdek (พารา จีเด็ก), Para GPO (พารา จีพีโอ),Para - Sweet (พารา - สวีท), Para tabParacap capletParacap suspensionParacet capletParacet 500 FRX(PARACET 500 FRX), Paracetamol Acdhon tabParacetamol Asian Union tabParacetamol Chew Brothers tab,Paracetamol Community Pharm tabParacetamol General Drugs House tabParacetamol GPO tabParacetamol Greater Pharma tabParacetamol K.B.Paracetamol OsothParacetamol PatarParacetamol Pharma Square tab,Paracetamol Picco tabParacetamol SSPParacetamol Suphong Bhaesaj syrParacetamol T Man tabParacetamol T.O. syrParacetamol Utopian syrPara-G suspension (พารา-จี ซัสเพนชั่น), Para-G (พารา-จี), ParaginParaman tabletsParamed syrup (พาราเม็ด ไซรัป), Paramed (พาราเม็ด), Paramol syrup (พารามอล ไซรัป), Parano syrup (พาราโน่ ไซรัป), Parano (พาราโน่), ParanolParat drops (antipyretic & analgesic) (พาแรท ชนิดหยด (ลดไข้,บรรเทาอาการปวด)),Parat syrup (พาแรท ไซรัป), Parat (พาแรท), ParcetPardon C.D. Syrup (พาร์ดอน ซี.ดี. น้ำเชื่อม), Pardon (พาร์ดอน),PartamolPat tabPatum syrup (พาตุ้ม ไซรัป), Pemol drop suspension (พีมอล ชนิดหยด), Pemol syrup (พีมอล ไซรัป),Pemol (พีมอล), Poro SuppositoryPoro SuspensionPyracon dropsPyracon tablets (ไพราคอน), Pyracon liquid (ยาน้ำไพราคอน), Pyrimed film-coated tabRamol tabSaebegin (แซบียิ่น), Sara infant drops (ซาร่า ชนิดหยดสำหรับทารก), Sara suspension (ซาร่า), Sara syr (ซาร่า), Sara (ซาร่า), T.M. Gin tabletsTempra drops (เทมปร้า (ชนิดหยด)), Tempra Forte(เทมปร้า ฟอร์ท), Tempra Kids (เทมปร้า คิดส์), Thoho syrupThohoTotamol 250 (โททามอล 250), Tumdi (ทัมดี้), Tylenol 500 (ไทลินอล 500), Tylenol 8 Hour capletTylenol dropsUnimol suspension (ยูนิมอล ซัสเปนชัน), Unimol syrup (ยูนิมอล ไซรัป), Uracet syrup (ยูราเซท ไซรัป), Vemol syrup (วีมอลไซรัป), Vemol (วีมอล), Vikool syrup (ยาลดไข้เด็กไวคุล),Xebramol drops (ซีบรามอล ดร็อปส์), Xebramol syrup (ซีบรามอล ไซรับ), Xebramol (ซีบรามอล)
ข้อมูลนี้ไม่สมบูรณ์ ยานี้อาจจะยังมีชื่อทางการค้าอื่นที่ไม่ได้แสดงในนี้ หรือชื่อทางการค้าที่แสดงในนี้อาจจะไม่อนุญาตให้จำหน่ายแล้ว

ชื่อภาษาไทยอื่นที่อาจมีการใช้

ยานี้มีชื่อภาษาไทยอื่นที่มีการใช้ดังต่อไปนี้
 

การใช้ที่ถูกต้อง

ควรใช้ขนาดยาตามใบสั่งยาของแพทย์หรือตามที่ระบุบนฉลากยา
  • ห้ามใช้ยานี้มากกว่าวันละ 4 กรัม การใช้ยานี้มากเกินไปอาจทำให้เกิดพิษต่อตับและไต
  • ไม่ควรใช้ยานี้นานเกิน 5 วัน
 
สำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้พาราเซทามอลสำหรับเหน็บทวารหนัก (paracetamol suppositories)
  • ถ้ายาเหน็บนิ่มเกินที่จะสอดได้ ควรนำไปแช่ตู้เย็น 30 นาทีหรือแช่ในน้ำเย็นก่อนเอาออกจากกระดาษฟอยด์ที่ห่ออยู่ การสอดยาเหน็บ ในขั้นแรกเอากระดาษฟอยด์ที่ห่อออกก่อนแล้วทำให้ยาเหน็บชุ่มชื้นด้วยการจุ่มลงในน้ำเย็น นอนตะแคงข้างและใช้นิ้วดันยาเหน็บเข้าสู่ช่องทวารหนัก

ขนาดยา

ขนาดยาพาราเซทามอล (paracetamol) อาจจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ เภสัชกร หรือ ตามที่ระบุไว้บนฉลากยา
ข้อมูลต่อไปนี้เป็นเพียงขนาดยาเฉลี่ย หากขนาดยาของท่านแตกต่างไปจากนี้ ไม่ควรเปลี่ยนขนาดยาเองถ้าแพทย์ไม่ได้ระบุ
จำนวนแคปซูล, เม็ดหรือช้อนโต๊ะของยาน้ำใสหรือยาน้ำแขวนตะกอนที่ท่านรับประทาน ปริมาณแกรนูลหรือผงยาที่ท่านรับประทานหรือจำนวนยาเหน็บที่ท่านใช้ ขึ้นอยู่กับความแรงของยา ดังนั้นขนาดยาที่ท่านใช้ในแต่ละวันและแต่ละเวลาจะขึ้นอยู่กับความแรงของยา
สำหรับยาในรูปแบบยารับประทาน (ยาน้ำใส ยาน้ำแขวนตะกอนหรือยาเม็ด) และยาในรูปแบบเหน็บทวารหนัก (suppositories) สำหรับบรรเทาอาการปวดหรือลดไข้
ก. วัยรุ่นและผู้ใหญ่
  • ขนาดยา 325 หรือ 500 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ขนาดยา 650 มิลลิกรัมทุก 4-6 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ขนาดยา 1000 มิลลิกรัมทุก 6 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ขนาดยาไม่เกิน 4000 มิลลิกรัมต่อวัน เช่น ขนาด 500 มิลลิกรัม ควรรับประทานไม่เกิน 8 เม็ด
ข. การใช้พาราเซทามอล (paracetamol) ในเด็กขึ้นกับอายุของเด็ก
  • ทารกแรกเกิด – 3 เดือน : ขนาดยา 40 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • ทารก 4 เดือน – 12 เดือน: ขนาดยา 80 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 1 – 2 ปี : ขนาดยา 120 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 2 – 4 ปี : ขนาดยา 160 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 4 – 6 ปี : ขนาดยา 240 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 6 – 9 ปี : ขนาดยา 320 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 9 – 11 ปี : ขนาดยา 320–400 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
  • เด็กอายุ 11 – 12 ปี : ขนาดยา 320–480 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อจำเป็น
โดยทั่วไปรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการปวด หรือใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด โดยห้ามใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยใดให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  • รับประทานยานี้ได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร แต่ควรรับประทานเหมือนกันทุกครั้งและควรรับประทานยาให้ตรงเวลาทุกครั้ง
  • สำหรับทารกและเด็กเล็ก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
  • สำหรับผู้ใหญ่ ห้ามรับประทานยานี้มากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง
  • สำหรับผู้ใหญ่ ห้ามรับประทานยานี้มากกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • สำหรับผู้ใหญ่ ห้ามรับประทานยานี้ติดต่อกันเกิน 5-10 วัน เว้นแต่แพทย์สั่ง
  • สำหรับเด็ก ห้ามรับประทานยานี้ติดต่อกันเกิน 3-5 วัน เว้นแต่แพทย์สั่ง
ห้ามรับประทานยานี้มากกว่าหรือน้อยกว่า หรือบ่อยกว่าที่แพทย์สั่งให้ใช้ การรับประทานยานี้มากกว่าหรือบ่อยกว่าตามที่ระบุในใบสั่งยาของแพทย์หรือบนฉลากยาอาจเป็นอันตรายต่อตับได้

เมื่อลืมใช้ยา

หากท่านลืมรับประทานยาให้รีบรับประทานทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้ถึงมื้อต่อไปให้ข้ามมื้อที่ลืมและรับประทานยาต่อในมื้อถัดไปในขนาดยาปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

การเก็บรักษา

  • ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บให้ไกลจากความร้อนหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ห้ามเก็บพาราเซทามอล (paracetamol) ไว้ในห้องน้ำ ใกล้อ่างล้างมือหรือที่ชื้น เนื่องจากยาอาจเสื่อมคุณภาพได้
  • ควรเก็บยาในรูปแบบยาเหน็บในตู้เย็น
  • ทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ

ข้อควรระวัง

บอกแพทย์หรือทันตแพทย์ให้ทราบหาก
  • ท่านใช้ยานี้เพื่อบรรเทาอาการปวด รวมทั้งการปวดข้อและการปวดที่มากกว่า 10 วันในผู้ใหญ่หรือมากกว่า 5 วันในเด็กหรืออาการปวดยิ่งแย่ลง มีอาการใหม่เกิดขึ้นหรือมีการบวมแดงบริเวณที่ปวด สิ่งเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงซึ่งควรได้รับการรักษา
  • หากท่านใช้ยานี้เพื่อลดไข้ และไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วันหรือมีไข้ขึ้นมาใหม่ อาการไข้ยิ่งแย่ลง หรือมีการบวมแดงเกิดขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เป็นอาการบ่งบอกถึงอาการที่รุนแรงซึ่งควรได้รับการรักษา
  • หากท่านรับประทานยานี้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอและอาการเจ็บคอยิ่งเจ็บมากขึ้น หรือไม่หายภายใน 2 วันหรือมีอาการอย่างอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้น คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • มีประวัติการแพ้ยาพาราเซทามอล (paracetamol) หรือยาอื่น ๆ
  • ยาอื่น ๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ซื้อรับประทานเอง วิตามิน อาหารเสริม และยาสมุนไพร ที่ท่านใช้อยู่ในขณะนี้หรือกำลังจะใช้
  • การตั้งครรภ์ การวางแผนจะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
  • ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ๆ หรือบ่อย ๆ และ/หรือประวัติการเป็นโรคพิษสุรา (alcoholism)
  • การมีหรือเคยมีความผิดปกติของการทำงานของตับ เป็นหรือมีประวัติเคยเป็นโรคตับ
  • โรค, ภาวะหรือปัญหาความเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่มี
  • อายุหรือวัยของผู้ใช้ เช่น เด็ก, ผู้สูงอายุ ในกรณีที่เป็นทารกหรือเด็กเล็กควรบอกน้ำหนักตัวของเด็กแก่แพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบด้วย
  • อ่านฉลากยาให้ละเอียดทั้งยาที่แพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อรับประทานเอง หากยาที่รับประทานอยู่มีพาราเซทามอล (paracetamol) เป็นส่วนประกอบ ควรบอกแพทย์ทันทีเนื่องจากหากได้ยาร่วมกันอาจจะได้พาราเซทามอล (paracetamol) ในปริมาณที่มากเกินไป
  • หากท่านจะรับประทานพาราเซทามอล (paracetamol) มากกว่า 1–2 เม็ด ห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสที่ตับจะถูกทำลายได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อท่านดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำหรือหากท่านรับประทานพาราเซทามอล (paracetamol) มากกว่าที่แนะนำในฉลากหรือหากท่านรับประทานยานี้เป็นเวลานาน
  • พาราเซทามอล (paracetamol) อาจรบกวนผลของการทดสอบทางการแพทย์บางอย่าง ก่อนที่จะทำการทดสอบใด ๆ หากรับประทานยาพาราเซทามอล (paracetamol) ใน 3-4 วันที่ผ่านมา ควรแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ให้ทราบว่าใช้ยาพาราเซทามอล (paracetamol) นี้อยู่ด้วย เป็นไปได้ควรโทรบอกห้องปฏิบัติการก่อนที่จะทำการทดสอบประมาณ 4 วัน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
พาราเซทามอล (paracetamol) อาจให้ผลการทดสอบที่ผิดพลาดในการทดสอบหาน้ำตาลในเลือด หากท่านสงสัยในผลการทดสอบหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหานี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี
หากท่านคิดว่าท่านหรือบุคคลอื่น ๆ อาจจะได้รับยาพาราเซทามอล (paracetamol) เกินขนาด ควรที่จะได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนแม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกถึงการเกิดพิษ อาการแสดงของการเกิดพิษที่รุนแรงอาจจะปรากฎประมาณ 2-4 วันหลังจากที่ได้รับขนาดยาเกิน แต่การรักษาเพื่อป้องกันการทำลายตับหรือป้องกันการตายควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การรักษาที่เริ่มการรักษาหลังจาก 24 ชั่วโมงที่ได้รับยาเกินขนาดมักไม่ได้ผล

อาการไม่พึงประสงค์

ยาอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์บางอย่างที่ไม่ต้องการ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับผู้ใช้ยาทุกราย แต่หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นควรได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ก. ควรพบแพทย์ทันทีหากมีอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้น
พบน้อยมาก
  • ตาเหลืองตัวเหลือง
อาการเมื่อได้รับยาเกินขนาด
  • ท้องร่วง เหงื่อออกมากขึ้น ความอยากอาหารลดลง คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดเกร็งกระเพาะอาหาร บวม ปวดหรือรู้สึกตึงที่ท้องส่วนบนหรือบริเวณกระเพาะอาหาร
ข. ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการไม่พึงประสงค์เหล่านี้เกิดขึ้น
พบน้อยมาก
  • อุจจาระสีเข้มหรือมีเลือดปน
  • ปัสสาวะขุ่นหรือมีเลือดปน ปริมาณปัสสาวะลดลงทันทีทันใด
  • มีไข้แต่ไม่หนาวสั่น (ที่ไม่ได้เกิดก่อนการรักษาหรือที่เป็นสาเหตุของการรักษา)
  • ปวดบั้นเอวและข้างเอว (ปวดมากหรือเจ็บแปลบๆ)
  • มีจุดเลือดออกในตา
  • มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง, มีผื่นลมพิษ, คัน, เจ็บปวดทรมาน มีแผล หรือจุดขาว ๆ ที่ริมฝีปากหรือช่องปาก, เจ็บคอ (ที่ไม่ได้เกิดก่อนการรักษาหรือที่เป็นสาเหตุของการรักษา)
  • อ่อนเพลียผิดปกติ
  • เลือดออกมากผิดปกติ
ค. อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยบางราย หากท่านสังเกตเห็นอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
อ้างอิง

ยาแก้ไอน้ำดำ (M. tussis/Brown mixture)

ยาแก้ไอน้ำดำ (M. tussis/Brown mixture)

brown

 

บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาอาการไอระคายคอ ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ

ประเภทของยา
1. ยาที่เข้าสารฝิ่น หรือโคเดอีน (Codeine) ช่วยกดการไอ  ที่ใช้บ่อยและราคาถูก ได้แก่ ยาแก้ไอน้ำดำ 
    (M. tussis/Brown mixture), ยาแก้ไอน้ำเชื่อม (Cough syrup) ซึ่งมีสารฝิ่นผสม
    ส่วนยาที่เข้าโคเดอีน ที่มีขายในท้องตลาด เช่น ยาแก้ไอเฟนซีดิล (Phensedyl), โรบิทัสซินเอซี  
    (Robitussin-AC), โคดีเซีย (Codesia), โคดิพรอนต์ (Codipront) ซึ่งราคาค่อนข้างแพง
2. เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) มีชนิดเม็ด 15 มก. และชนิดน้ำ
3. ไดเฟนไฮดรามีน ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ชนิดหนึ่ง 

ตัวอย่างยา
ยาแก้ไอน้ำดำ (Brown mixture) , ยาแก้ไอน้ำเชื่อม (Cough syrup) , ยาแก้ไอเฟนซิดิล (Phensedyl) , 
ยาเม็ดเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)

ขนาดและวิธีใช้
ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ยาแก้ไอที่เข้าโคเดอีน
ผู้ใหญ่ ให้จิบครั้งละ 1-2 ช้อนชา หรือ 1 เม็ด, เด็ก 1/2 - 1 ช้อนชา เวลาไอ ทุก 4-6 ชั่วโมง
เด็กซ์โทรเมทอร์แฟน ผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 1-2 เม็ด, เด็ก 1/2 - 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง

ผลข้างเคียง
อาจทำให้มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึม ท้องผูก

ข้อควรระวัง
1. ระมัดระวังการใช้ในคนที่ไอมีเสลดเหนียว หรือไอจากสาเหตุจากทางเดินหายใจส่วนล่าง (เช่น หลอดลมอักเสบ, 
    ปอดอักเสบ) จะทำให้เสลดเหนียว โรคหายช้า หรือเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ อาจทำให้ปอดแฟบเป็น
    อันตรายได้
2. ถ้ากินแล้วกลับทำให้ไอมากขึ้น ควรหยุดยา
3. ยานี้เข้าฝิ่นหรือโคเดอีน อาจทำให้มึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือมีอาการแพ้ (มีผื่นคัน) 
    ได้

ข้อห้ามใช้
สำหรับยาที่เข้าโคเดอีน ห้ามใช้ในคนที่มีประวัติแพ้ยาโคเดอีน, มีอาการหอบหืดกำเริบ, เป็นต้อหิน หรือ
ต่อมลูกหมากโต 


อ้างอิง
http://www.thailabonline.com 

http://www.thairx.com

Attachments:
FileFile size
Download this file (1.1บันทึกข้อความ.pdf)1.1บันทึกข้อความ.pdf485 kB
  1. ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  2. แผน/ผล/การวิเคราะห์จัดซื้อจัดจ้าง
  3. ประกาศราคากลาง
  4. ITA

ประกาศ เรื่อง กระบวนการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานถึงความเกี่ยวข้องกับผู้เสนองานในการจัดซื้อจัดจ้าง

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
ประกาศ เรื่อง กระบวนการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานถึงความเกี่ยวข้องกับผู้เสนองานในการจัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสวี  เรื่อง กระบวนการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานถึงความเกี่ยวข้องกับผู้เสนองานในการจัดซื้อจัดจ้าง

คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ปิด-ปลด และพยานประกาศเผยแพร่ข่าวสารจัดซื้อจัดจ้าง

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ปิด-ปลด และพยานประกาศเผยแพร่ข่าวสารจัดซื้อจัดจ้าง

คำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ปิด-ปลด และพยานประกาศเผยแพร่ข่าวสารการจัดวื้อจัดจ้าง

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1) เดือน ต.ค.-พ.ย.60

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1) เดือน ต.ค.-พ.ย.60

สรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (แบบ สขร.1)

บันทึกข้อความ (EB2.1)

วันอาทิตย์, 24 มีนาคม 2562
บันทึกข้อความ (EB2.1)

แบบฟอร์มเผยแพร่ สขร.1

วันพฤหัสบดี, 21 มีนาคม 2562
แบบฟอร์มเผยแพร่ สขร.1

รายงานแบบ สขร.1

วันพฤหัสบดี, 21 มีนาคม 2562
รายงานแบบ สขร.1

รายงานผลการวิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้าง ปีงบประมาณ 2560

วันพุธ, 20 ธันวาคม 2560
รายงานผลการวิเคราะห์การจัดซื้อจัดจ้าง ปีงบประมาณ 2560

รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560

แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2561

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2561

แจ้งโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2561

แผนปฏบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

วันอังคาร, 19 ธันวาคม 2560
แผนปฏบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

แผนปฏบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561  

EB 2

วันอาทิตย์, 11 พฤศจิกายน 2561

EB2  หน่วยงานมีการกำหนดมาตรการ กลไก หรือการวางระบบในการดำเนินการเพื่อส่งเสริม ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง   1) บันทึกข้อความ ลงนามคำสั่ง/ข้อสั่งการ และปรากฏการขออนุญาตนำ เผยแพร่บนเว็บไซต์      ของหน่วยงานหรือสื่อสารเผยแพร่ในช่องทางอื่น คลิ๊ก 2) ข้อสั่งการอย่างเป็นทางการ ที่มีลักษณะเป็นคำสั่ง/ประกาศ ลงนาม โดยผู้บริหารสูงสุดของ     หน่วยงาน หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบอำนาจ คลิ๊ก 3) กรอบแนวทางการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ต้อง     ประกอบด้วย วิธีการ ขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการ...

เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจ าปีพ.ศ. 2560

วันพฤหัสบดี, 15 มีนาคม 2561
เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจ าปีพ.ศ. 2560

เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจ าปีพ.ศ. 2560

next
prev
  1. ข่าวสาร IT
  2. โปรแกรม JHCIS
  3. โปแกรม HDC
  4. โปรแกรมอื่นๆ

หมดปัญหา SMS ขยะหลอกเสียเงินฟรี!

06 กันยายน 2560
 หมดปัญหา SMS ขยะหลอกเสียเงินฟรี!

หมดปัญหา SMS ขยะหลอกเสียเงินฟรี!   เชื่อ ว่าเกือบทุกคนต้องเคยหงุดหงิดใจกับปัญหา SMS เป็นแน่ ที่ทั้งมึนและงงว่าเราไปสมัครรับข่าวสารไว้ตั้งแต่ตอนไหน แต่ส่งมาหาแบบถี่ยิบ แถมเผลอกดแบบงงๆ ละก็ เผลอสมัครอะไรไม่รู้ไปเฉยเลย แถมยังเสียเงินฟรีอีกต่างหากวันนี้เรามีแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้มาฝากค่ะ กับการเปิด...

แชทไปดูวีดีโอไปบนแอป LINE ได้แล้วด้วย compact video

06 กันยายน 2560
แชทไปดูวีดีโอไปบนแอป LINE ได้แล้วด้วย compact video

แชทไปดูวีดีโอไปบนแอป LINE ได้แล้วด้วย compact video     ข่าวดีสำหรับคนชอบดูวีดีโอ เพราะนับจากนี้ LINE มีอัปเดตใหม่ให้สามารถชมวีดีโอไปแชทไปได้แล้ว ด้วยป๊อปอัพวีดีโอบน LINE ( LINE COMPACT VIDEO MODE ) ที่ให้คุณได้ย่อวีดีโอเป็นวีดีโอขนาดเล็กบนจอสมาร์ทโฟนให้คุณสามารถแชทไป ชมวีดีโอไปไ...

แนะนำบริการ Cloud Server จาก CS LOXINFO เริ่ม 900 บาทก็รับส่งข้อมูลไม่จำกัด!

06 กันยายน 2560
แนะนำบริการ Cloud Server จาก CS LOXINFO เริ่ม 900 บาทก็รับส่งข้อมูลไม่จำกัด!

แนะนำบริการ Cloud Server จาก CS LOXINFO เริ่ม 900 บาทก็รับส่งข้อมูลไม่จำกัด!    สำหรับคนที่ต้องการบริการเซิร์ฟเวอร์ปัจจุบันก็มีทางเลือกให้ใช้บริการหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสมนะครับ อย่างการซื้อเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องมาตั้งเอง ก็เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมงบไม่ให้บานปลาย มีปริมาณการใช้งาน...

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

next
prev
  1. โรคและภัยสุขภาพ
  2. อนามัยแม่และเด็ก
  3. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)

06 กันยายน 2560
โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)

โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)     ชื่อภาษาไทย   โรคมือ-เท้า-ปากชื่อภาษาอังกฤษ   Hand-foot-mouth&nb...

อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)

06 กันยายน 2560
อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)

อีสุกอีใส (Chicken pox / Varicella)     อีสุกอีใส(ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ไข้สุกใส หรือโรคสุกใส)เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็ก มีอัตราป่วยสูงสุดใน...

ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )

06 กันยายน 2560
ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )

ไข้ผื่นกุหลาบในเด็กทารก/สาไข้ (Roseola infantum )     ไข้กุหลาบในทารก หรือ หัดดอกกุหลาบ (ภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ rose...

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

06 กันยายน 2560
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute bronchitis)   หลอดลมอักเสบ  หมายถึง  การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม  ทำให้ต่อมเมือก  (mucous&...

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

ทดสอบ 10

18 สิงหาคม 2560
ทดสอบ 10

กเเฟหเหกฟสาเ่วสกหาเ่งดสาเ่กดสาเ้กหดสวาเวสกเ่ากดสาเกดสเา่วสฟเเฟ ฟหเฟหสาฟเหสกเา่หกสาเ่ฟหสาเ่ฟหสาเ่ฟหกาเหกฟเหฟกเหเ

next
prev